การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้วัดเป็นฐาน ตามหลักไตรสิกขา ในภาคเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • พระครูสุนทรมหาเจติยานุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ณรงศักดิ์ ลุนสำโรง มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • จรูญศักดิ์ แพง มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, วัดเป็นฐาน, หลักไตรสิกขา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่น ในภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่น ในภาคเหนือตอนบน 3) เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติ และประเมินผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่น โดยใช้วัดเป็นฐาน ตามหลักไตรสิกขาของผู้สูงอายุ ในภาคเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างได้แก่เจ้าอาวาส พระผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประสานงาน ผู้รับผิดชอบกิจกรรมส่งเสริม พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุ อยู่ในเขต 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน รวมทั้งสิ้น 1,200 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบศึกษาเอกสาร สังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และแบบสอบถามความคิดเห็น ของผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสังเคราะห์ข้อมูลเอกสาร สังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และสถิติที่ใช้ได้แก่การหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบ t-test

ผลการวิจัยพบว่าการศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มีการดำเนินงานประสานกับ ชมรม สมาคม เครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุภาคเหนือ มีการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ ส่วนใหญ่ยังขาดครูจิตอาสา ยังไม่มีหลักสูตร และ วิธีการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ด้วยเครื่องมือที่ชัดเจน

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จากการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมพบว่าด้านจุดแข็งอยู่ระดับมากที่สุดคือมีผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าอาวาสวัดที่ให้การสนับสนุน จุดอ่อนยังขาดการกำหนดกิจกรรมแก่ผู้สูงอายุในกลุ่มชมรมผู้สูงอายุหมู่บ้านบางหมู่บ้าน ส่วนใหญ่ยังขาดการจัดทำหลักสูตร และการวัดผล ประเมินผลที่เป็นระบบชัดเจน ด้านโอกาสได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาพนอก และมีเครือข่าย จำนวนมาก ด้านปัญหาอุปสรรคผู้สูงอายุบางส่วนมีปัญหาสุขภาพไม่สามารถร่วมโครงการได้การกำหนดแนวทางปฏิบัติ และประเมินผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุผลการกำหนดแนวทางปฏิบัติการดำเนินงาน ประกอบด้วย 4 แนวทาง ภาพรวม (gif.latex?\bar{x}= 4.20, SD.= .43) สำหรับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุมีดัชนีชี้วัดจำนวน 4 ดัชนี ในภาพรวมมี ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}=4.16, SD.= .42)

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2562). แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ.2566–2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่1 พ.ศ. 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์

ชัยมงคล ศรีทองแดง.(2552). ปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน เขตอำเภอเมือง ร้อยเอ็ด จังหวัด ร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชาลี ภักดี. (2561). การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุโดยใช้หลักไตรสิกขาในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน. กรุงเทพฯ: สถาบันญาณสังวรฯมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2543). การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยจิตวิทยาแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พุทธทาสภิกขุ. (2542). ธรรมโฆษณ์: ขุมทรัพย์ ทางปัญญา. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

พระมหาธเนศร รามางกูร. (2547). การประยุกต์ใช้และการยึดมั่นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ในการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนภูเวียงจังหวัดขอนแก่น (ภาคนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล. (2550). คุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: ศิริราช.

วิจิตรา เปรมปรี. (2550). ความศรัทธาในพุทธศาสนากับการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุใน ชมรมผู้สูงอายุ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิรินุช ฉายแสง. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดอำนาจเจริญ (วิทยานิพนธ์สาขาการสร้างเสริมสุขภาพ). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สมคิด บางโม. (2552). องค์การและการจัดการ, กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

Dupuis, et al.( 2007). Aging Research Across Disciplines: A Student-Mentor Partnership Using the United Nation Principles for Older Person. Educational Gerontology, 33, 273-292.

Powell, R.A. (1996). Focus Groups in Mental Health Research: Enhancing the Validity of User and Provider Questionnaires. International journal of Social Psychology, 42(3),193-206.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31