การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยและบรรจุภัณฑ์ของบ้านขนมไทย ชุมชนริมคลองหนองระแหง เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ผลิตภัณฑ์แปรรูป, ต้นแบบ, Zero Wasteบทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยและบรรจุภัณฑ์ 2) ศึกษาความพึงพอใจต้นแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยและบรรจุภัณฑ์ของบ้านขนมไทย ชุมชนริมคลองหนองระแหง เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหารและสมาชิกบ้านขนมไทย ชุมชนริมคลองหนองระแหง จำนวน 7 คน และบุคคลทั่วไปทั้งที่อาศัยอยู่ในชุมชนและบุคคลภายนอก ที่ได้ทดลองชิมหรือซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยของบ้านขนมไทย ชุมชนริมคลองหนองระแหง จำนวน 53 คน รวม 60 คน การเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ต้นแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยที่เราเรียกว่า Banana Cracker ผลิตจากเศษเหลือทิ้งของกล้วยที่แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยในขั้นตอนการทอด นำมากวนกับส่วนผสมอื่น ๆ เพื่อทำเป็นซอสคาราเมล จนกระทั่งงวด เกาะกันเป็นก้อน แล้วจึงนำมาปาดเป็นท๊อปปิ้งลงบนกล้วยฉาบแบบดั้งเดิมที่หั่นเป็นแว่น ได้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดจากแนวคิด Zero Waste นำมาบรรจุลงกระปุกพลาสติกสีขาวขุ่นทรงสี่เหลี่ยมมีหูหิ้วในตัว สามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ด้านใน บรรจุผลิตภัณฑ์ขนาด 180 กรัม มีตราสินค้าและป้ายฉลากติดด้านบนและข้างกล่อง ประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ จำหน่ายในราคา 59 บาท 2) ความพึงพอใจต้นแบบผลิตภัณฑ์ พบว่า ความพึงพอใจด้านผลิตภัณฑ์ (โดยรวม) อยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจด้านบรรจุภัณฑ์ (โดยรวม) อยู่ในระดับมาก
References
บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน). (2564). การปรุงอาหารแบบ Zero Waste.
ค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2566, จาก https://generali.co.th/news-event/what-is-zero-waste-cooking/
บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด. (n.d.). ประยุกต์ใช้หลัก Zero-Waste Cooking ลดขยะอาหารเพื่อความยั่งยืน. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2566, จาก https://www.unileverfoodsolutions.co.th/th/chef-inspiration/sustainable-restaurants/reduce-food-waste-by-zero-waste-cooking.html
บุญยิ่ง คงอาชาภัทร. (2562). 3 จุดอ่อนโอทอปไทยกับ 5 เคล็ดลับความสำเร็จ 20 แบรนด์ไทย. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/ decoding-the-success-of-thai-local-brand/
ถนัดกิจ จันกิเสน. (2562). เปิดผลวิจัย ทำไมแบรนด์ไทยถึงไม่ ‘ปัง’ พร้อม 5 รหัสลับนำทางหลุดพ้นกับดักธุรกิจ. ค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2566, จาก https://thestandard.co/thai-brand-research/
ดวงจันทร์ เฮงสวัสดิ์. (2557). กล้วย คุณค่าล้นหวี ผลไม้ดีคู่สุขภาพ. อาหาร, 44(1), 15-18.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, (2558). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เพชรจรัสแสงธุรกิจ.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย หมวดเกษตรกรรม. (2552). กล้วย : ผลไม้ไทยที่ควรเร่งพัฒนาให้เป็นอุตสาหกรรม. ค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/22988.aspx
สมพงษ์ เฟื่องอารมย์. (2550). บรรจุภัณฑ์กับการส่งออก (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
สุธิดา อัญญะโพธิ์. (2548). กล้วย ผลไม้มากคุณประโยชน์. UPDATE, 20(218), 45-56.
มหาวิทยาลัยมหิดล, วิทยาลัยการจัดการ. (2562). 3 จุดอ่อนOTOPไทยกับ 5 เคล็ดลับความสำเร็จ 20 แบรนด์ไทย. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/decoding-the-success-of-thai-local-brand/
พิบูล ทีปะปาล. (2557). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อมร.
Cole, C., Osmani, M., Quddus, M., Wheatley, A. & Kay, K. (2014). Towards a Zero Waste Strategyfor an English Local Authority. Resources, Conservation and Recycling, 89, 64–75.
Hogland, W., Kaczala, F., Jani, Y., Hogland, M., & Bhatnagar, A. (2017). Beyond The Zero Waste Concept. ค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2566, จาก https://doi.org/10.15626/Eco-Tech.2014.028
Zaman, A. & Lehmann, S. (2011). Urban Growth and Waste Management Optimization. ‘Zero Waste City’. City, Culture and Society, 2, 177-187.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว