การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • โชคชัย แร่นาค สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21, การเสริมสร้างสมรรถนะครู, โปรแกรมการพัฒนาครู

บทคัดย่อ

    บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21  2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 และ 3) สร้างและพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ หัวหน้าฝ่ายบุคคล และครูผู้สอน จำนวน 1,088 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินคุณภาพ โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสอบถาม 3) แบบประเมินคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติเพื่อหาความต้องการจำเป็นคือ PNImodified

    ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 มี 4 สมรรถนะ ได้แก่ ความเข้าใจเชิงวัฒนธรรมและความหลากหลาย ความสามารถทางด้านเทคโนโลยี การสร้างเครือข่ายทางการศึกษา และ การส่งเสริมและการจัดการเรียนรู้ 2) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 พบว่า สมรรถนะที่มีความต้องการจำเป็นในพัฒนามากที่สุด คือ สมรรถนะด้านการสร้างเครือข่ายทางการศึกษา รองลงมาคือสมรรถนะด้านความสามารถทางด้านเทคโนโลยี  สมรรถนะด้านการส่งเสริมและการจัดการเรียนรู้ และสมรรถนะด้านความเข้าใจเชิงวัฒนธรรมและความหลากหลาย ตามลำดับ 3) โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 มีคุณภาพด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม ความถูกต้อง ความครอบคลุม และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก

References

ฉัตรชัย หวังมีจงมี และองอาจ นัยพัฒน์. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 : ปรับการเรียนเปลี่ยนสมรรถนะCompetency of Thai Teacher in 21st Century : Wind of Change. Journal of HR intelligence, 12(2) : 110 - 132

ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. วารสารครุศาสาตร์,45(3) : 17 – 33.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2556). มารู้จัก Competency กันเถอะ. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ธํารง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตรการออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ.

ปกรณ์ทรรศน์ ศรีโยวัย. (2565). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริม การคิดอย่างมีวิจารณญาณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 41(5) : 97 - 108

พิชญาภา ยืนยาว และธีรวุธ ธาดาตันติโชค. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.1 6(1) : 15 - 31

แวฮาซัน แวหะมะ และคณะ. (2559). บทบาทอาจารย์นิเทศก์ในบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ : ความท้าทายต่อการจัดการนิเทศการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 26(3) : 1-14

สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่ : The Knowledge Center

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน:คู่มือสมรรถนะหลัก. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.

อริยา คูหา. (2562). โลกที่เปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ที่ผ่านสู่ Active Learning. วารสารศึกษาศาสตร์,30(2) : 1 – 13.

Beane, James A, Toepler, Jr Conrad F., and Alessi, Jr Samuel J. (1986). Curriculum Planning and Development. Massachusette : Ally and Bacon.

Beauchamp, G.A. (1975). Curriculum theory (3rd ed.) Wilmetter , IL : Thekagg Press.

Hafsah Jan (2017). The EU in 2018: A practical guide tomentoring,coaching and peer networking: Teacher professional development in schools and colleges. London: Taylor & Francis.

Helen, H. (2008). Teachers’ work: Beginning teachers’ conceptions of competence. The Australian Educational Researcher. 35(1): 125-145.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.

Nitin Vazirani. (2010). Review paper competencies and competency model-a brief overview of its development and application. SIES Journal of Management. 7(1): 121-131.

Saavedra, A.R., & Darleen, V.O. (2012). Learning 21st century skills requires 21st century teaching. Phi Delta Kappan Sage Journals, 94(2), 8-12.

Saylor, J.G, Alexander, W.M>. (1974). Planning Curriculum For Schools. New York : Holt,Rinehart and Wiston.

Sowell, E.J. (1996). Curriculum : An Intergrative Interoduction. Unites States of America :Merrill Prentice Hall

Taba,H. (1962). Curriculum Development: Thorey and Practice. New York : Harcourt Brace

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30