การพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดชุมชนสร้างสรรค์แบบครบวงจร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านลิพอนใต้ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
คำสำคัญ:
การพัฒนา, การสื่อสารทางการตลาด, ชุมชนสร้างสรรค์, เศรษฐกิจฐานราก, ชุมชนเข้มแข็งบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดชุมชนสร้างสรรค์แบบครบวงจร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาชุมชนบ้านลิพอนใต้ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านลิพอนใต้ จำนวน 375 คน และกลุ่มนักท่องเที่ยว/ลูกค้าชาวไทย จำนวน 384 คน และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จำนวน 12 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 2 ครั้ง จากกลุ่มตัวแทนผู้นำชุมชน ผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ขณะที่ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์โดยจำแนกข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูล
ผลการศึกษา พบว่าประชาชนและนักท่องเที่ยว/ลูกค้าชาวไทยส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าสภาพการสื่อสารทางการตลาดของชุมชนบ้านลิพอนใต้อยู่ในระดับมาก ประชาชนและนักท่องเที่ยว/ลูกค้าชาวไทย
ให้ความเห็นที่แตกต่างกันในด้านการตลาดทางตรงและฐานข้อมูลมากที่สุด รองลงมาด้านการโฆษณาด้านการส่งเสริมการขาย และด้านการจัดกิจกรรมพิเศษและสร้างประสบการณ์ ประชาชนชุมชนบ้านลิพอนใต้และนักท่องเที่ยวหรือลูกค้าชาวไทยให้ความเห็นที่แตกต่างกันน้อยที่สุด สำหรับแนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดชุมชนสร้างสรรค์แบบครบวงจร โดยเทศบาลตำบลศรีสุนทรและชุมชนบ้านลิพอนใต้เป็นเจ้าภาพหลักในการบูรณาการความร่วมมือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันทางการศึกษาต่าง ๆ ในการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดชุมชนสร้างสรรค์แบบครบวงจร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนบ้านลิพอนใต้ให้เข้มแข็ง ดังนี้ 1) ควรโฆษณากิจกรรมและผลิตภัณฑ์ของชุมชนผ่านหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง 2) ควรมีการจัดทำแพ็คเกจ โปรโมชั่นราคาพิเศษ แคมเปญกิจกรรมการท่องเที่ยวหรือผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น 3) ควรจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามกิจกรรมพิเศษที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้นให้เป็นที่น่าสนใจแก่นักท่องเที่ยวหรือลูกค้า 4) ควรมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมชุมชนและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในรูปแบบสิ่งพิมพ์หรือออนไลน์
ผ่านเครือข่ายการท่องเที่ยวและสื่อท้องถิ่น 5) ควรมีการพัฒนาตลาดออนไลน์และเขียนถ่ายทอดเรื่องราวชุมชน ข้อมูลวัฒนธรรม การท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์และแอปพลิเคชันบนมือถือ 6) ควรมีการจัดทำฐานข้อมูลนักท่องเที่ยวหรือลูกค้า 7) ควรมีการพัฒนาสมาชิกกลุ่มในชุมชนให้มีทักษะการขาย เป็นนักเล่าเรื่องสามารถถ่ายถอดเรื่องราว วัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
References
คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจฐานราก. (2559). คู่มือการส่งเสริมการพัฒนา “ระบบเศรษฐกิจฐานราก”. กรุงเทพฯ: สำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน และสำนักสื่อสารการพัฒนาสถาบันพัฒนองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
จันทิมา กำลังดี. (2560). อิทธิพลของการบริหารตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่มีต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทย ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ในจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เฉลิมพล แจ่มจันทร์ และสวรัย บุณยมานนท์. (2556). บทบาทของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการพัฒนาสังคมและชุมชนไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์, 7(1), 123-125.
ดำรงค์ศักดิ์ ขวัญใจ. (2562). แนวทางการสื่อสารทางการตลาดด้านอาหารพื้นบ้านเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา.
นริศรา ยศแก้ว. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจรที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารลดน้ำหนักของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
เนตรชนก คงทน และพีรวิชญ์ คำเจริญ. (2560). การสื่อสารการตลาด ผ้าไท-ยวน และการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเชิงสร้างสรรค์ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา (รายงานผลงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์.
ปิยพงษ์ สัจจาพิทักษ์. (2560). อิทธิพลของการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่มีต่อความไว้วางใจของผู้บริโภคในตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของสินค้าโอทอป (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พ.ศ.2561. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 59ก. หน้า 27.
พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2556). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์,7(1), 30-33.
พรรษกฤช ศุทธิเวทิน และภูเกริก บัวสอน. (2562). กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของประชากรรุ่นแซดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารธุรกิจปริทัศน์,11(1), 99-100.
พัณณิตา มิตรภักดี. (2561). Creative Economy in Action. ค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.creativethailand.org/new/article/howto/28031/th#CreativeEconomyinAction
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
วรีรัตน์ สัมพัทธ์พงศ์. (2558). ยุทธศาสตร์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างคุณค่าตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิชิต นันทสุวรรณ. (2556). บทบาทของชุมชนกับการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ศิราณี เชื้อกลาง. (2562). กลยุทธ์การใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาดออนไลน์ของกลุ่มผู้ค้าเสื้อผ้าออนไลน์(วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยนิเทศศาสตร์.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2552). การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2559). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ติรกานันท์. (2546). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2557). โลกพลิกโฉม ความมั่งคั่งในนิยามใหม่. กรุงเทพฯ: สยาม เอ็ม แอนด์พลับลิชชิ่ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต. (2560). รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน ปี 2560 บ้านลิพอนใต้ หมู่ที่ 5 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. ภูเก็ต: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ภาวะสังคมไทยไตรมาสสามปี 2563. รายงานภาวะสังคมไทย,18(4), 3-8.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวม ปี 2564. รายงานภาวะสังคมไทย, 20(1), 2-3.
อำพร ผสมทรัพย์. (16 พฤศจิกายน 2563). ประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านลิพอนใต้. สัมภาษณ์.
Eger, M. J. (2003). The Creative Community: Forging the Links between Art, Culture Commerce &Community. The California Institute for Smart Communies, San Diego State University.
Kotler, P. & Keller, K. L. (2016). Marketing Management. (15thed.). Malaysia: Education Limited.
Poplin, E. D. (1972). Communities: A Survey of Theories and Methods of Research. New York: Macmillan.
Sanders, I. (1958). Theories of Community Development. Rural Sociology, 23(1), 1-12.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว