ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ธวัช ชัยแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ทวี แจ่มจำรัส มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สำเนียง มณีฉาย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ไปรพร แสงจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การพัฒนาเมืองน่าอยู่, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, เชียงใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญการพัฒนาเมืองน่าอยู่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นโยบายของภาครัฐการเสริมสร้างแรงจูงใจ และการมีส่วนร่วมของประชาชน 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นโยบายของภาครัฐ การเสริมสร้างแรงจูงใจ และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองน่าอยู่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และตำบล ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 ตัวอย่าง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย นายก อบจ.เชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่ นายกเทศบาล นายก อบต. และ ตัวแทนภาคประชาชน รวมทั้งสิ้น 17 คนและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาเมืองน่าอยู่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเสริมสร้างแรงจูงใจ และการมีส่วนร่วมของประชาชน มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนนโยบายของภาครัฐ และภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก 2) นโยบายของภาครัฐมีอิทธิพล
เชิงสาเหตุรวมต่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่มากที่สุด รองลงมาได้แก่ การเสริมสร้างแรงจูงใจ ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ การมีส่วนร่วมของประชาชน ตามลำดับ และ 3) แนวทางการพัฒนาเมืองน่าอยู่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่มีลักษณะเป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย นโยบายของภาครัฐที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด มีการเสริมสร้างแรงจูงใจ และภาวะผู้นำของผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ตรงกลาง และการมีส่วนร่วมของประชาชนช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบน

References

กระทรวงวัฒนธรรม .(2561). เชียงใหม่เมืองน่าอยู่. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

ชุลีรัตน์ เจริญพร. (2560). “เมืองน่าอยู่”: แนวคิดเพื่อการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาชุมชนหลักหก ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(ฉบับพิเศษ), 1-13.

ไชยยันต์ กัมปนาทแสนยากร. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินโครงการเทศบาลน่าอยู่อย่างยั่งยืน. วารสารรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2(10), 19 -35.

ปรีดิ์ บูรณศิริ. (2560). เมืองน่าอยู่. วารสารคณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 3(10), 9- 25.

พระมหาสมศักดิ์ ธีรวโส (แหวนคำ). (2561). กระบวนการพัฒนาชุมชนเมืองและชนบทสู่ความยั่งยืน ในอำเภอเชียงคำจังหวัดพะเยา. วารสารรัฐศาสตร์มหาวิทยยาลัยธรรมศาสตร์, 2(10), 19 -35.

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2560). การบริหารสังคม ศาสตร์แห่งศตวรรษเพื่อสังคมไทยและสังคมโลก. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

มงคล สะเทิงรัมย์. (2564.) การพัฒนาเมืองน่าอยู่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหันนางามอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. Journal of Roi Kaensarn Academ, 6(8), 108-120.

ศรีนวล วิหครัตน์. (2561). การดำเนินการพัฒนาในด้านเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของเทศบาลเมืองพิจิตร อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร. วารสารรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร, 9(2), 12- 22.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). Health & Wellness Business. ค้นเมื่อ 15มีนาคม 2567, จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/k-sme-inspired/ Inspired/January%20-%20March%202015.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อรทัย ก๊กผล. (2559). Urbanization เมื่อ “เมือง” กลายเป็นโจทย์ของการบริหารจัดการท้องถิ่น สมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

Chruden, H. J. & Sherman, A.W. (1968). Personnel Management (3rd ed). Cincinnati: South western.

Davis, k. (1972). Human Behavior of World – Man Ralations and Organization Behavior. New York: Mc Graw-Hill.

Erwin, W. (1976). Participation Management: Concept Theory and Implementation. Atlanta G.: Georgia State University.

Quinn. (2003). Diagnosing and Changing Organizational Culture: Based on the Competing Values Framework. New York: Addison Wesley.

Reeder, W. William. (1998). Some Aspects of the Informal Social Participation of Farm Families in New York State. New York: Cornell University.

Reiner, M., & Rouse, D. (2019). Dependency model: Reliable infrastructure and the resilient, sustainable, and livable city. Sustainable and Resilient Infrastructure, 3(3), 103-108.

Sasanpour, F. (2019). Livable city one step towards sustainable development. Journal of Contemporary Urban Affairs, 1(3), 13-17.

United Nations. (1992). United nations conference on environment & development: AGENDA 21, held at rio de janerio, Brazil from 3-14 June. Rio de Janerio: United Nations.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31