บุพปัจจัยและภาพลักษณ์การให้บริการแพทย์ทางไกลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ชัชชฎา ถิระชัยกุล วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • ธนพล ก่อฐานะ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • ชมภู สายเสมา วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • บัณฑิต ผังนิรันดร์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

บุพปัจจัย, ภาพลักษณ์, แพทย์ทางไกล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับระบบงาน การยอมรับเทคโนโลยี คุณภาพการให้บริการ นวัตกรรมการจัดการ และ ภาพลักษณ์การให้บริการแพทย์ทางไกลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ศึกษาอิทธิพลของ ระบบงาน การยอมรับเทคโนโลยี คุณภาพการให้บริการ และนวัตกรรมการจัดการที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์การให้บริการแพทย์ทางไกลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 3) สร้างแบบจำลองภาพลักษณ์การให้บริการแพทย์ทางไกลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการแพทย์ทางไกลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน ขนาดของกลุ่มตัวกำหนดโดยใช้เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกต ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้างส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือเจ้าหน้าที่จากกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณะสุขที่เกี่ยวข้องกับการบริการแพทย์ทางไกล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการแพทย์ทางไกลโรงพยาบาลรัฐบาล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการแพทย์ทางไกลโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 13 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพลักษณ์การให้บริการแพทย์ทางไกลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ระบบงาน การยอมรับเทคโนโลยี คุณภาพการให้บริการ และนวัตกรรมการจัดการมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก 2) ระบบงาน การยอมรับเทคโนโลยี คุณภาพการให้บริการ และนวัตกรรมการจัดการที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์การให้บริการแพทย์ทางไกลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แบบจำลองภาพลักษณ์การให้บริการแพทย์ทางไกลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  ที่ผู้วิจัยพัฒนามีชื่อว่า “MSWTI Model” (M = Management Innovation, S = Service Quality, W = Work System, T = Technology Acceptance, I = Images of Telemedicine Services)

References

จันทร์ฑา นาควชิรตระกูล และประภาส ศุภศิริสัตยากุล. (2554). การประยุกต์การบำรุงรักษาแบบทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาประสิทธิผลกระบวนการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตฟิล์มโพลีเยสเตอร์ขนาดย่อม. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศกรรมอุตสาหกรรม.

ธนพร ทองจูด. (2564). ปัจจัยของการตรวจรักษาด้วยโทรเวชกรรมที่มีผลต่อทัศนคติและความตั้งใจเลือกใช้บริการโทรเวชกรรมของผู้บริการของโรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารสุขภาพ, 20(45), 28 – 39.

ประชาชาติธุรกิจ. (2564). อนาคต Telemedicine หลังวิกฤต COVID-19. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จาก https://www.prachachat.net/columns/news-717825

ไพศาล มุณีสว่าง.(2561). รายงานโครงการพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยีที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบทโดยผ่านเครือข่ายดิจิทัลความเร็วสูง. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จาก http://nuradio.nu.ac.th/?p=4096

วิภาวัณย์ อรรณพพรชัย. (2564). การประยุกต์ใช้ระบบแพทย์ทางไกลเพื่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลชนบท. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น, 7(3), 256- 279.

สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์. (2563). ปวดท้อง (ที่ต้อง)ร้องหาหมอ. วารสารหมอชาวบ้าน, 3(40),30-35.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และคณะ (2551). แบบจำลองสมการโครงสร้าง. กรุงเทพฯ: สามลดา.

Darkins, A. W., & Cary, M. A. (2018). Telemedicine and telehealth: principles, policies, performance, and pitfalls. New York: Springer Pub.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS quarterly, 13, 319-340.

Dayani, A., Rivai, A. K., & Aditya, S. (2022). The Impact of E-Service Quality and Brand Trust on Repurchase Intention with Customer Satisfaction as Intervening for Telemedicine Application Users. Jurnal Dinamika Manajemen Dan Bisnis, 5(2), 35-56.

Craig, J. & Patterson, V. (2015). Introduction to the practice of telemedicine. Journal of Telemedicine and Telecare, 11(1), 3-9.

Grace, J. B. (2008). Structural Equation Model. For observational studies. Journal of Wild life Management, 72(1), 14-22.

Hatch, G., Ebert, L. C., Ampanozi, G., Thali, M. J., & Ross, S. (2016). You cannot touch this: touch-free navigation through radiological images. Surgical innovation, 19(3), 301-307.

Kamal, S. A., Shafiq, M., & Kakria, P. (2020). Investigating acceptance of telemedicine services through an extended technology acceptance model (TAM). Technology in Society,60, 101212.

Kotler, P., and Amstrong, G. (2016). Prinsip-Prinsip Pemasaran Edisi 13 Jilid 1. Jakarta: Erlangga.

Li, Y. et al. (2018). From employee-experienced high-involvement work system to innovation: An emergence-based human resource management framework. Academy of Management Journal, 61(5), 2000-2019.

Lin, S., Gao, S., & Yang, H. (2020). Nano sensor-based flexible electronic assisted with light fidelity communicating technology for volcanologist-based telemedicine. ACS nano, 14(11), 15517-15532.

Rana, S., Tandon, U., & Kumar, H. (2023). Understanding medical service quality, system quality and information quality of Tele-Health for sustainable development in the Indian context. Kybernetes. https://doi.org/10.1108/K-01-2023-0005

Recker, J., & Alter, S. (2018). Using the work system method with freshman information systems students. Journal of Information Technology Education: Innovations in Practice, 11(1), 1-24.

Ritala, P., & Almpanopoulou, A. (2018). In defense of ‘eco’ in innovation ecosystem. Technovation, 60, 39-42.

Schoderbek, P. P., & Kefalas, A. G. (1985). Management systems: conceptual considerations. (3rd ed.). Business Publications.

Sudibjo, N., & Prameswari, R. K. (2021). The effects of knowledge sharing and person–organization fit on the relationship between transformational leadership on innovative work behavior. Heliyon, 7(6), e07334.

Verfurth, M. (2021). Analysis of healthcare professionals’ acceptance of service innovations in the German telemonitoring market for diabetes. Member States: Report on the second global survey on eHealth.

Wiener, M., Matell, M. S. & Cosiett, H. B. (2011). Multiple mechanisms for temporal processing. Frontiers in integrative neuroscience, 5(31), 1-3.

World Health Organization. (2012). Telemedicine: opportunities and developments in Member States: Report on the second global survey on eHealth. Healthc Inform Res, 18(2), 153–155.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31