การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประมงชายฝั่งแบบยั่งยืน ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ณฐกร สุวรรณธาดา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ณัฐวัฒน์ สิริพรวุฒิ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สถิตย์ นิยมญาติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กมลพร กัลยาณมิตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การทำประมงชายฝั่งแบบยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประมงชายฝั่งแบบยั่งยืนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) ศึกษาองค์ประกอบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประมงชายฝั่งแบบยั่งยืนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (3) หาแนวทางกำหนดนโยบายส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประมงชายฝั่งแบบยั่งยืนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 26 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องภาคเอกชน จำนวน 11 ท่าน กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องภาครัฐ จำนวน 8 ท่าน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการการจัดระเบียบข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประมงชายฝั่งแบบยั่งยืนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใน 4 ด้าน คือ ด้านการบำรุงรักษา ด้านการอนุรักษ์ ด้านการฟื้นฟูทรัพยากร และด้านการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนมีการห้ามกระทำการใด ๆ ในที่จับสัตว์น้ำที่อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำ การจัดทำแนวเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การวางซั้งกอ ธนาคารปูม้า และการควบคุมเฝ้าระวังการทำการประมงผิดกฎหมาย (2) องค์ประกอบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประมงชายฝั่งแบบยั่งยืนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใน 4 ด้าน คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์การมีส่วนร่วมในการประเมินผล ความต้องการในการมีส่วนร่วมของชุมชนมีความต้องการมีส่วนร่วมทุกด้าน และ (3) แนวทางกำหนดนโยบายส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประมงชายฝั่งแบบยั่งยืนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่าความยั่งยืนของทรัพยากรประมงอยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนประมงในการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมและการบำรุงรักษา ดูแลอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรหน้าบ้าน และโครงการต่างๆ จากการสนับสนุนของรัฐและเอกชน ดังนั้นการกำหนดนโยบายการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำประมงชายฝั่งแบบยั่งยืนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน และทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

References

กรมประมง. (2557). โครงการพัฒนาตามแผนแม่บทการจัดการประมงทะเลไทย ปี 2557. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล.

กรมประมง. (2563). ระเบียบว่าด้วยการขอและการออกใบรับรองมาตรฐานการทำประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืนและการแปรรูปสินค้าประมงพื้นบ้าน พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: กรมประมง.

กิจจา ศรีนวล. (2562). การบริหารร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชนของธนาคารปู อ.ปะทิว จ.ชุมพร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จาดุร อภิชาตบุตร. (2561). หลักประชาธิปไตย : การมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

จิราภรณ์ ไตรศักดิ์. (2563). การจัดการประมง คำตอบที่ไม่รอคำถาม. ค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2567, จากhttp://www.konseo.com/ page1552

ณัฐรียา เกียรติไพบูลย์. (2560). เป้าหมายการพัฒนาการประมงอย่างยั่งยืนของไทยภายใต้วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2573. ค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.fisheries.go.th/strategy/ UserFiles/files/27-11-60.pdf

พรเทพ นามกร. (2562). องค์ประกอบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อมในจังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ,2(1), 183-197.

สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. ค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://web.parliament.go.th/assets/portals/1/files/002_การมีส่วนร่วมฯ.pdf

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2558). นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2558-2564. ค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2567, จาก http://www.nsc.go.th/ Download1/policy58.pdf

สุวารี นิลจันทร์. (2561). การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่ง: กรณีศึกษา กลุ่มอนุรักษ์อ่าวทองโข อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 1881-1896.

Cohen, J. M. & Uphoff, N. T. (1981). Participation’s place in rural development: seeking clarity through specificity. World Development, 8(3), 213-235.

Creighton, J. L. (2005). The Public participation handbook: making better decisions through citizen involvement. San Francisco: Jossey Bass.

Rifkin, S. B. (1986). Lessons from community participation in health programmes. Health Policy and Pianning, 1(3), 240-249.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31