ปัจจัยเชิงสาเหตุของภาพลักษณ์อาหารปลายทาง ส่งผลต่อความตั้งใจของนักท่องเที่ยวในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงษ์ ทั้งพรมพาณิชย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • วิชิต อู่อ้น มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

สภาวะแวดล้อมปลายทาง, ภาพลักษณ์อาหารปลายทาง, ความตั้งใจของนักท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์อาหารปลายทาง และความตั้งใจของนักท่องเที่ยว, 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุของภาพลักษณ์อาหารปลายทางส่งผลต่อความตั้งใจของนักท่องเที่ยว, และ 3) พัฒนาแบบจำลองของปัจจัยเชิงสาเหตุของภาพลักษณ์อาหารปลายทางส่งผลต่อความตั้งใจของนักท่องเที่ยว การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และเก็บแบบสอบถามออนไลน์จากนักท่องเที่ยวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ใช้วิธีการคัดเลือกแบบโดยการเก็บกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 440 ราย โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานคือ โมเดลสมการโครงการผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบสุ่มตามวัตถุประสงค์การวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์อาหารปลายทางและความตั้งใจของนักท่องเที่ยวได้แก่ สภาวะแวดล้อมปลายทางส่งผลต่อภาพลักษณ์อาหารปลายทาง, สภาวะแวดล้อมปลายทางส่งผลต่อความตั้งใจของนักท่องเที่ยวผ่านภาพลักษณ์อาหารปลายทาง, ทัศนคติต่ออาหารท้องถิ่นส่งผลต่อภาพลักษณ์อาหารปลายทาง 2) อิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุของภาพลักษณ์อาหารปลายทางส่งผลต่อความตั้งใจของนักท่องเที่ยว พบว่าทัศนคติต่ออาหารท้องถิ่นส่งผลต่อความตั้งใจของนักท่องเที่ยวผ่านภาพลักษณ์อาหารปลายทาง, คุณภาพจากประสบการณ์ส่งผลต่อภาพลักษณ์อาหารปลายทาง, คุณภาพจากประสบการณ์ส่งผลต่อความตั้งใจของนักท่องเที่ยวผ่านภาพลักษณ์อาหารปลายทาง, และภาพลักษณ์อาหารปลายทางส่งผลต่อความตั้งใจของนักท่องเที่ยว 3) การพัฒนาแบบจำลองของปัจจัยเชิงสาเหตุของภาพลักษณ์อาหารปลายทางที่ส่งผลต่อความตั้งใจของนักท่องเที่ยวที่สำคัญคือ ธุรกิจนำเที่ยวและผู้นำเที่ยว สามารถนำผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยไปพัฒนาการวิจัย อีกทั้งพัฒนาระบบการจัดการท่องเที่ยวให้ก้าวหน้า ส่งผลให้ส่งเสริมการบริหารภาพลักษณ์อาหารปลายทาง และปรับเปลี่ยนความตั้งใจของนักท่องเที่ยวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). รายงานประจำปี 2561 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

พรรณี สวนเพลงและคณะ. (2559). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร. รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว,4 (2), 38-45.

Beardsworth, A. & Keil, T. (1997). Sociology on the menu: an invitation to the study of food and society. London; New York: Routledge.

Bessiere, J. (2001). The role of rural gastronomy in tourism. in Rural tourism and recreation: principles to practice, sous la dir. De L.Roberts et D. Hall, CABI Publishing, CAB International, Wallingford, Oxon, United Kingdom, septembre, pp. 115-118.

Choe, J.Y. & Kim, S. (2018). Effects of tourists’local food consumption value on attitude, food destination image, and behavioral intention. International lournal of hospitality management, 71(4), 1-10.

Chu, C., & Luckanavanich, S. (2018). The Influence of Social Media Use and Travel Motivation on The Perceived Destination Image and Travel Intention 106 to Taiwan of The Thai People. International Journal of Arts and Commerce, 7(3), 22–36

Dann, G.M.S. (1981). Tourist Motivation: An Appraisal. Annals of Tourism Research, 8(2),187–219.

Hall, C.M. & Macionis, N. (1998). Wine Tourism and Network Development in Australia and New Zealand: Review, Establishment and Prospects. International Journal of Wine Marketing 9(2),5-31

Hall, M., Mitchell, R., & Sharples, L. (2003). Consuming places: the role of food, wine and tourism in regional development. In C. M. Hall, B. Cambourne, L. Sharples, N. Macionis, & R. Mitchell (Eds.). Food Tourism Around the World Development, management and markets (pp. 25-59). Burlington: Elsevier.

Hasan, et al. (2018). Effects of different dietary levels of vitamin E supplementation on the growth and ovarian development of climbing perch, anabas testudineus. Bangladesh Journal of Veterinary and Animal Sciences, 6 (1&2), 1-6.

Long, L. (2004). Culinary Tourism (Material Worlds). Lexington, KY: The University Press of Kentucky.

Papadimitriou, D. & et al. (2015). Destination personality, affective image, and behavioral intentions in domestic urban tourism. Journal of travel research, 54(3), 302-315.

Quan, S. & Wang, N. (2003). Towards a structural model of the tourist experience: An illustration from food experiences in tourism. Tourism Management, 25, 297-305.

Scarpato, R. (2002). Gastronomy as a tourist product: The perspective of gastronomy studies. London: Routledge.

Seo, M. & et al. (2017). Bidirectional attention flow for machine comprehension. Retrieved from https://www.semanticscholar.org/reader/3a7b63b50c64f4ec3358477790e84cbd 6be2a0b4

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30