ภาพลักษณ์ของการ์ตูนในทัศนคติของนักวาดการ์ตูนชาวต่างชาติที่มีต่อนโยบายสาธารณะในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2563
คำสำคัญ:
ภาพลักษณ์ของการ์ตูน, ทัศนะคติของนักวาดการ์ตูนชาวต่างชาติ, นโยบายสาธารณะในประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับประเด็นความสนใจสถานการณ์การเมืองของไทยที่ปรากฎในการ์ตูนเมืองที่วาดโดยนักวาดการ์ตูนชาวต่างชาติ 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะการใช้สัญญะที่ปรากฏในการ์ตูนการเมืองที่สะท้อนเกี่ยวกับประเทศไทย และ 3) เพื่อวิเคราะห์มุมมองและทัศนคติของผู้วาดการ์ตูนในการ์ตูนการเมืองที่สะท้อนเกี่ยวกับประเทศไทย การวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้การวิจัยผ่านการทบทวนวรรณกรรม ผ่านการคัดเลือกแหล่งข้อมูลสื่อออนไลน์และนักเขียนที่มีความน่าเชื่อถือ
การวิจัยนี้ศึกษาการจัดหมวดหมู่ของภาพวาดการ์ตูนด้วยการนำแนวคิดนโยบายสาธารณะของ Hill's ที่มีการแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมือง ด้านการต่างประเทศ ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษาและเทคโนโลยี รวมเข้ากับการแบ่งยุคสมัยทางการเมือง แบ่งออกเป็น (1) ยุคเผด็จการรัฐสภา ในช่วงปี พ.ศ. 2544 – 2549 (2) ยุคที่มีความหลากหลายของวิธีการในการแต่งตั้งนายก ช่วงปี พ.ศ. 2550 - 2552 (3) ยุคการจัดตั้งรัฐบาลผสมและมีนายกหญิงคนแรก ช่วงปี พ.ศ. 2553 – 2557 และ (4) ยุครัฐบาลทหาร ช่วงปี พ.ศ. 2557 – 2563 เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจนโยบายสาธารณะในแต่ละช่วงเวลาที่ถูกกล่าวถึงโดยนักเขียนการ์ตูนชาวต่างชาติ
ตลอดจนการศึกษาการตีความสัญวิทยาซึ่งอิงตามทฤษฎีของ Charles Peirce และ Ferdinand de Saussure เพื่อการตีความภาพเหล่านี้ที่สื่อสารข้อความในบริบทที่ซับซ้อน ผ่านวิธีที่นักเขียนการ์ตูนชาวต่างชาติใช้ทรัพยากรเชิงสัญวิทยาที่หลากหลายด้วยการนำรูปแบบการนำเสนอมุกในการ์ตูน 25 รูปแบบ เช่น การล้อเลียนทางการเมือง การเสียดสี การเปรียบเทียบสัตว์ เป็นต้น เพื่อเป็นการวิเคราะห์โครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ของการ์ตูน โดยเผยให้เห็นชั้นของความหมายที่สื่อสารออกมาจากการวิพากษ์วิจารณ์ ด้วยรูปแบบมุกที่หลากหลายและถูกผสมผสานลงในภาพวาด ที่สามารถสะท้อนถึงทัศนคติของนักวาดการ์ตูนชาวต่างชาติที่มีต่อนโยบายสาธารณะของไทย และเพื่อแสดงให้เห็นว่าภาพการ์ตูนเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการสื่อสารอย่างไร ทั้งยังรวมแนวคิดการสื่อสารทางการเมืองเพื่อวิเคราะห์ถึงจุดประสงค์ในการนำเสนอภาพภาร์ตูนของนักวาด ทั้งเพื่อการแจ้งข้อมูลทั่วไปทางการเมืองให้ประชาชนทราบ การแสวงหาคะแนนนิยม การโน้มน้าวจูงใจให้เกิดการสนับสนุนทางการเมือง และการสร้างภาพลักษณ์ทางการเมือง
ท้ายที่สุดผู้วิจัยสรุปการศึกษาเป็นข้อค้นพบทางวิชาที่นำเอาทฤษฎี S M C R (ผู้ส่ง-ข้อความ-ช่องทาง-ผู้รับ) มาเพื่ออธิบายกระบวนการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อความที่ปรากฎในการ์ตูน ผ่านการตีความตามทฤษฎีสัญวิทยา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการศึกษานี้ได้มุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ที่หลากหลายระหว่างศิลปะการแบ่งยุคสมัยทางการเมือง และนโยบายสาธารณะ ด้วยการตีความภาพและข้อความที่ถ่ายทอดโดยนักเขียนการ์ตูนชาวต่างชาติ ที่สะท้อนถึงทัศนะคติที่เป็นข้อมูลเชิงลึกว่าประเทศไทยถูกมองจากมุมมองภายนอกอย่างไร
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.
ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร. (2555). รายงานวิจัยเรื่อง ภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในสังคมไทย (พ.ศ.2465-2475). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
นักรบ มูลมานัส. (2563). Beyond Thai-ness. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไพเราะ เรืองศิริ. (2524). ความสนใจต่อการอ่านหนังสือการ์ตูนของเด็กในภาคตะวันออกของประเทศไทย(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพศาล ธีรพงศ์วิษณุพร. (2561). 140 ปี "การ์ตูน" เมืองไทย (ประวัติและต านาน พ.ศ. 2417-2557). นนทบุรี: ศรีปัญญา.
สุดรัก จรรยาวงษ์. (2530). การ์ตูนและการ์ตูนการเมือง. กรุงเทพฯ: บานไม่รู้โรย.
Berlo, K. (1960). The Process of Communication. New York: Hoit, Rinehart and Winston.
Forster, M. N. (2001). Hermeneutics. The University of Chicago. Retrieved May 2, 2023, from http://philosophy.uchicago.edu/faculty/files/forster/HERM.pdf
Hocevar, I., Metzger, M., & Flanagin, A. J. (2017). Communication and Technology, Health and Risk Communication, Mass Communication. In Oxford Research Encyclopedia of Communication
Wahooart. (2021). Passions of Christ and Antichrist. Retrieved May 12, 2023, from https://en.wahooart.com/@@/8CABRY-Lucas-Cranach-The-Elder-Passions-of-Christ-and-Antichrist
Witch, W. A., & Schuller, C. F. (1962). Audiovisual Materials: Their nature and use. Harper and Row.
WordPress Team. (2022). Consideration. In Author Information, WordPress Theme. Retrieved May 12, 2023, from https://developer.wordpress.org/themes/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว