บทบาทกลุ่มผลประโยชน์การเมืองไทย: ศึกษากรณีกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงแบบเครือข่ายในการเรียกร้องต่อนโยบายภาครัฐ พ.ศ. 2545-2566

ผู้แต่ง

  • ประกาสิต เลิศมุกดา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

บทบาทกลุ่มผลประโยชน์, ธุรกิจขายตรงแบบเครือข่าย, นโยบายภาครัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการของกลุ่มธุรกิจขายตรงแบบเครือข่ายในประเทศแต่ละยุคสมัยการเมืองไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545–2566 2) เพื่อศึกษาตัวแสดงของหน่วยงานรัฐ กฎหมาย และนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจขายตรงแบบเครือข่าย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545–2566 และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบปฏิสัมพันธ์ในเชิงโครงสร้างของตัวแสดงที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545–2566 ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง จำนวน 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1) การศึกษาพัฒนาการของกลุ่มผลประโยชน์ธุรกิจขายตรงแบบเครือข่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545–พ.ศ. 2566 พบว่า (1) ก่อตั้งเพื่อยกระดับธุรกิจขายตรงให้เป็นบริษัทที่มีความเป็นธรรมาภิบาลที่ถูกต้อง (2) ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนด้านข้อกฎหมายให้มีความสอดคล้องกับธุรกิจ (3) ก่อตั้งเพื่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ และ (4) ก่อตั้งเพื่อต้องการให้ภาครัฐดำเนินการธุรกิจ
ที่ผิดกฎหมาย 2) การศึกษาบทบาทตัวแสดงของหน่วยงานภาครัฐ กฎหมาย และนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจขายตรงแบบเครือข่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545–พ.ศ. 2566 พบว่าบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นตัวแสดงข้อเรียกร้องหลักที่กลุ่มสมาคมองค์กรกลุ่มผลประโยชน์ธุรกิจขายตรงและองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเรียกร้อง ประกอบไปด้วย (1) กฎหมาย (2) การต่อต้านการแชร์ลูกโซ่ (3) การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและ (4) การยกระดับมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพของธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง และ3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ธุรกิจขายตรงแบบเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐและนโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545–พ.ศ. 2566 พบว่า (1) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาคมกับสมาคม มีความสัมพันธ์แบบหลวม ๆ ยังขาดความเป็นเอกภาพและความร่วมมือกันอย่างจริงจัง (2) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาคมกับองค์กร พบว่า สมาคมกับองค์กรไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันโดยตรง แต่บริษัทที่อยู่ภายใต้สมาคมมีการสนับสนุนองค์กรนี้ทางลับ และ (3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาคมกับหน่วยงานภาครัฐ พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีแค่บางช่วงเวลาขึ้นอยู่กับนโยบายของเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

References

ชุดา สาธิตพร. (2562). เครือข่ายธุรกิจของนักการเมืองไทย. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 11(2), 24-41.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา, 134(40 ก), 1–90.

ศุทธิกานต์ มีจั่น. (2564). พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง. ใน เอกสารการสอน 1301403 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ปรับปรุง พ.ศ. 2559). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมาคมการขายตรงไทย. (ม.ป.ป.). WFDSA member. UNICITY. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567, จากhttps://www.unicity.com/tha/wfdsa-member/

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2560). รัฐธรรมธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

อาจอง บิณศิรวานิช. (2561). ความเป็นสถาบันทางการเมือง ศึกษากรณีพรรคเพื่อไทยเปรียบเทียบพรรคกิจประชาชน. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(27), 278-289.

สานนท์ ด่านภักดี และคณะ. (2561).พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง,7(2), 377-392.

Eukeik.ee. (2565, กันยายน 19). ตลาดขายตรงไทยกำลังเจอกับความท้าทายของโลกที่เปลี่ยนไป. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567, จาก https://marketeeronline.co/archives/233209

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30