แนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งตามวงจรคุณภาพ ของโรงเรียนในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้ง, วงจรคุณภาพ, แนวทางการบริหาร, การบริหารศูนย์การเรียนรู้บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสภาพ ปัญหา และข้อเสนอแนะในการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้ง 2) เพื่อค้นหาแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งที่มีแนวปฏิบัติที่ดี และ 3) เพื่อร่างและตรวจสอบแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งตามวงจรคุณภาพของโรงเรียนในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการผสานวิธี โดยผู้วิจัยได้กำหนดกรอบแนวคิดตามการบริหารแบบวงจรคุณภาพใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารบุคลากร ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารทรัพยากร และด้านการบริหารเครือข่ายความร่วมมือ การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสำรวจสภาพ ปัญหา และข้อเสนอแนะในการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้ง โดยกลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียนที่มีศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งจำนวน 132 โรงเรียนทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 396 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การศึกษาแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งที่มีแนวปฏิบัติที่ดี โดยกลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียนต้นแบบจำนวน 5 โรงเรียนจาก 4 ภูมิภาค โดยสัมภาษณ์ผู้บริหาร ผู้ประสานงาน และผู้สอน รวม 15 คน และ 3) การร่างและตรวจสอบแนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้ง โดยกลุ่มเป้าหมายคือผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล รวม 9 คน โดยใช้เครื่องมือตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารทรัพยากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารบุคลากร และด้านการบริหารเครือข่ายความร่วมมือ อย่างไรก็ตาม บางโรงเรียนยังมีปัญหาด้านนโยบาย การประสานงาน หลักสูตรที่ไม่ทันสมัย บุคลากรที่ขาดการอบรม งบประมาณที่ไม่เพียงพอ อุปกรณ์ที่ขาดแคลน และเครือข่ายความร่วมมือที่จำกัด ข้อเสนอแนะ ได้แก่ การกำหนดนโยบายที่ชัดเจน ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย วางแผนสืบทอดงานและจัดการฝึกอบรม จัดสรรงบประมาณอย่างต่อเนื่อง จัดหาอุปกรณ์ที่เพียงพอ และพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือโดยการประชาสัมพันธ์และหาภาคีเครือข่ายเพิ่มเติม
- ศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งที่มีแนวปฏิบัติที่ดีดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามนโยบายของโรงเรียน เช่น การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 และขยายเครือข่ายความร่วมมือ โดยการดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการวางแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบ และการปรับปรุง โดยมีเงื่อนไขความสำเร็จที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน การสนับสนุนจากผู้บริหาร
การปรับปรุงหลักสูตร และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย - แนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งตามวงจรคุณภาพของโรงเรียนในประเทศไทย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ 2) หลักการ 3) วิธีการดำเนินงาน และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ เพื่อให้การบริหารศูนย์ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน การสนับสนุนจากผู้บริหาร การพัฒนาหลักสูตรที่ทันสมัย รวมถึงการบริหารทรัพยากรอย่างเหมาะสมและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งของนักเรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ
องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ แนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งตามวงจรคุณภาพของโรงเรียนในประเทศไทย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) วัตถุประสงค์ (2) หลักการ (3) วิธีการดำเนินงาน และ (4) เงื่อนไขความสำเร็จ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน การสนับสนุนจากผู้บริหาร การพัฒนาหลักสูตรที่ทันสมัย การบริหารทรัพยากรอย่างเหมาะสม และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ จะส่งผลให้สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งให้กับนักเรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ
References
กนกพร มาอ้วน. (2564). การบริหารการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานอย่างมืออาชีพในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. (หน้า 1257-1261). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้กีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬาในสังกัดกรมพลศึกษาเขตชนบท กรมพลศึกษา. กรมพลศึกษา: สำนักนันทนาการ กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กาญจนา รูปสูง. (2562). การบริหารในยุค Thailand 4.0. ใน รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 (หน้า 41-48). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
จุฎาพร แซ่หลี (2563). ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(32), 155-167.
ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. (2562). เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle). วารสาร สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (ส พบ ท.), 1(3), 39-46.
ดนย์ ทักศินาวรรณ, สายฝน เสกขุนทด, และ กานต์เสกขุนทด. (2560). แนวทางการบริหารศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทราสังกัดเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราโดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4(2), 33-40.
เด่นฤดี เครือเหลา, นัฎจรี เจริญสุข และ ชูศักดิ์ เอกเพชร. (2565). การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ด้านอาชีพของโรงเรียนในเครือข่ายวิภาวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วารสาร มจร อุบล ปริทรรศน์, 7(3), 1087-1098.
ทินกร เผ่ากันทะ และ กัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์. (2565). แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการ ศึกษาแห่งประเทศไทย (ส พบ ท.), 4(2), 37-46.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปราณิสา อุ่นดี และ ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ดนตรีไทยโดยภาคประชาชนในท้องถิ่นภาคกลาง. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 13(1), 72-86.
พงศธร สรภูมิ และ สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2565). การประยุกต์ใช้วงจรการบริหารงานคุณภาพ PDCA: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม. ในรายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 4. (หน้า 1409-4016). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
พระครูปิยคุณาธาร สุจริตธุรการ, พระครูพิจิตรศุภการ, มะลิวัลย์ โยธารักษ์ และ วันฉัตร ทิพย์มาศ (2563). รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ เชิงพุทธบูรณาการ สถานปฏิบัติธรรม โยคาวจร จังหวัดนครนายก. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(2), 453-464.
พันธ์ศักดิ์ แสนพรมมา และคณะ. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในจังหวัดพะเยา. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 11(2), 168-177.
พุทธชาติ ศิริบุตร. (2556). การสังเคราะห์งานวิจัยศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 20, 258-275.
สมพร ปานดำ. (2563). พื้นที่นักประดิษฐ์วิถีคิดการสร้างนวัตกรยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 5(1), 3-10.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2563). ประกาศสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เรื่องการขอรับการส่งเสริมและสนับสนุน ภายใต้มาตรการการช่วยเหลือหรือการอุดหนุน เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หัวข้อ โครงการ Coding School Champions เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งแห่งศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2565, จาก https://www.depa.or.th/storage/app/media/announce_ThaiFightCOVID/Infra%20 2020/10-Infra-Manpower-Space-Coding-School-Champions.pdf
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2565). โครงการยกระดับโรงเรียนสู่การเรียนรู้ด้าน Coding, STEM, IoT, และ AI ประจำปี 2563 - 2565. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565, จาก www.depa.or.th/depaCodingSchool
สำราญ ผลดี. (2559). แนวทางการจัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ธนบุรีศึกษา” มหาวิทยาลัย ธนบุรี. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 10(21), 126-134.
ไอริน โรจน์รักษ์, และ ศราวิน ชิณวงศ์. (2562). แนวทางการจัดการศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ตำบลบางปลา จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(1), 125-134.
Deming, W. E. (1986). Out of the crisis. MA: MIT Press.
Eriksson, E., et al. (2018). Makerspace in school-Considerations from a large-scale national testbed. International Journal of Child-Computer Interaction, 16, 9–15.
Soomro, S. A., Casakin, H., & Georgiev, G. V. (2022). A Systematic Review on FabLab Environments and Creativity: Implications for Design. Buildings, 12(6), 1–18.
Yamyim, K., et al. (2020). Students’ Perceptions of Makerspaces and Learning Environments in Thai Schools. 2020 5th International STEM Education Conference (iSTEM-Ed) (pp. 149-152). IEEE.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว