รูปแบบการบริหารการเรียนการสอนภาษาจีน ระดับบัณฑิตศึกษา หลังสถานการณ์โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารการเรียนการสอนภาษาจีน, ระดับบัณฑิตศึกษา, โควิด-19บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับบัณฑิตศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการบริหารการเรียนการสอนภาษาจีนระดับบัณฑิตศึกษา และ 3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารการเรียนการสอนภาษาจีนระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาหลังสถานการณ์โควิด-19 การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาชาวไทยระดับปริญญาโท สาขาวิชาการเรียนการสอนภาษาจีน ชองมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทารุ่นที่ 1 ถึงรุ่นที่ 4 ทั้งหมด 30 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัยชาวจีน 5 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ SWOT Analysis
ผลการวิจัยพบว่า 1) โรคระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนอย่างรุนแรง และสามารถใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ทำให้การเรียนการสอนดำเนินต่อไปได้ 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารการเรียนการสอนภาษาจีนระดับบัณฑิตศึกษา ต้องแสวงหาโอกาสในยามวิกฤต ใช้ข้อดีของทั้งรูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์และออนไซต์ ให้มีประโยชน์เพื่อรับมือกับปัญหาและวางแผนการพัฒนาระยะยาว ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนระดับบัณฑิตศึกษาได้พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้มากขึ้น และ 3) การพัฒนาทรัพยากรวัสดุการเรียนการสอนสำหรับการเรียนการสอนแบบผสมผสานเสริมสร้างระบบการประเมินผลให้สมบูรณ์ขึ้น มีการวางแผนในเรื่องการดูแลนักศึกษาและการอบรมคณะอาจารย์ สนับสนุนทางด้านเทคนิคการรักษาอินเตอร์เน็ต
References
ธัญญารัตน์ มะลาศรี และ Wei, J.R. (2560). การจัดเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาจีน สำหรับผู้เรียนชาวไทย. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4(3), 80-88.
เอกชัย บุญญาทิษฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
Yao, W. (2015). Label switching and its solutions for frequentist mixture models. Journal of Statistical Computation and Simulation, 85, 1000-1012.
Bradley, B.B. and Kelley. H. (2017). Examining the influence of self-efficacy and self-regulation in online learning. College Student Journal,51(4),518-530.
Daniels. C, & Feather, S. (2002). Student perceptions of online learning: A comparison of two Different populations. Proceedings of the Conference on Information Systems Applied Research, USA.
Flege.J. E., & Timonium, M. D. (1995). Second language speech learning: Theory, findings, and problems, Inw. Strange (ed), Speech perception and linguistic experience: Issues in cross-language research, 233-277.
Garnham, C., & Kaleta, R. (2002). Introduction to Hybrid Courses, Teaching with Technology Today. Retrieved May 9, 2023, from http://www.uwsa.edu/ttt/ articles/garnham.htm
Garrison, D. R. (2000). The oretical challenges for distance education in the 21st century: A shift from structural to transactional issues. The International Review of Research in Open and Distance Learning, 1(1),1-17.
Hannay, M. & Newvine, T. (2006). Perceptions of distance learning: comparison of online and traditional learning. MERLOT Journal of Online Learning and Teaching, 2(1),1-11.
Lanier, M. M. (2006). Academic integrity and distance learning. Journal of Criminal Justice Education,17(2), 244-261.
Robertj, B. (2009). The Use of Technology for Second Language Distance Learning. The Modern Language Journal, 93, 822–835.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว