แบบจำลองการยกระดับคุณภาพชีวิตแบบพฤฒพลังของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
สภาพแวดล้อมภายนอก, ทุนทางสังคม, การสนับสนุนทางสังคม, การบริการขั้นพื้นฐาน, พฤฒพลังบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญของสภาพแวดล้อมภายนอก ทุนทางสังคม การสนับสนุนทางสังคม การบริการขั้นพื้นฐานส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตแบบพฤฒพลังของผู้สูงอายุ
ในจังหวัดปทุมธานี 2) ศึกษาอิทธิพลของสภาพแวดล้อมภายนอก ทุนทางสังคมการสนับสนุนทางสังคมการบริการขั้นพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตแบบพฤฒพลังของผู้สูงอายุใน จังหวัดปทุมธานี 3) สร้างแบบจำลองสมการโครงสร้างของการยกระดับคุณภาพชีวิตแบบพฤฒพลังของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุมีตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ที่มีภาวะพึ่งพิง และมีภูมิลำเนาและอาศัยในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 360 ราย สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้างส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ เจ้าหน้าที่กรมกิจการผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณะสุข เจ้าหน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ เจ้าหน้าที่กรมปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี รวมทั้งสิ้น 16 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแบบพฤฒพลัง ทุนทางสังคม การสนับสนุนทางสังคม สภาพแวดล้อมภายนอก และการบริการขั้นพื้นฐาน มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก 2) สภาพแวดล้อมภายนอก มีอิทธิพลเชิงสาเหตุรวมต่ออการยกระดับคุณภาพชีวิตแบบพฤฒพลังของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี มากที่สุด รองลงมาได้แก่ การบริการขั้นพื้นฐาน การสนับสนุนทางสังคม และ ทุนทางสังคม ตามลำดับ และ 3) แบบจำลองสมการโครงสร้างของการยกระดับคุณภาพชีวิตแบบพฤฒพลังของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี
ที่พัฒนาขึ้นคือ “2EB2S Model” เป็นแบบจำลองให้หน่วยงานที่สนับสนุนส่งเสริมผู้สูงอายุในการยกระดับคุณภาพชีวิตแบบพฤฒพลังของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี ที่มุ่งเน้นให้ผู้อายุมมีสุขภาพดี มีส่วนร่วมของสังคม และมีหลักประกันชีวิตต่อไปในอนาคต
References
กระทรวงแรงงาน. (2565). MOU การจ้างแรงงานผู้สูงอายุโดยภาคเอกชน. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2567, จาก https://tdri.or.th/2022/04/mou-aging-worker/
กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2565). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจประเทศไทย. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2567, จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/926
ชัยพัฒน์ พุตซ้อน. (2561). แนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 27-36.
ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะสุขภาพ. วารสารวิชาการ, 5(2), 23 – 49.
ดวงจิตต์ นะนักวัฒน์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดูแลตนเองของ ผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย (รายงานการวิจัย). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธัญพร หล่อชัยวัฒนา. (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี. Journal of Nakhonratchasima College, 12(2), 94-104.
ลัดดา ดำรงการเลิศ. (2558). วิจัยเป้าด้านสุขภาพช่วยเพิ่มคุณค่าการดูแลสุขภาพประชาชนได้อย่างไร. กรุงเทพ: มูลนิธีสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร (2560). บริการท้องถิ่นเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ.(2562). ผู้สูงอายุไทยต้องปรับตัวอย่างไร เพื่อพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2567, จาก https://www.nxpo.or.th
สมปอง สุวรรณภูมา. (2565). แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(1), 106-118.
Albrecht, G. L., & Devlieger, P. J. (2019). The disability paradox: high quality of life against all odds. Social science & medicine, 48(8), 977-988.
Hodgins, M., & McKenna, V. (2020). Social welfare, housing and health policy and the determinants of quality of life for older people in the Republic of Ireland. Quality in Ageing and Older Adults,11(2),19-28.
Li, H., Ji, Y., & Chen, T. (2018). The roles of different sources of social support on emotional well-being among Chinese elderly. PloS one, 9(3), e90051.
Manning, I. (2020). Accessibility of essential services in urban and regional Australia. National Economic Review, 63, 1-14.
Sahin, D. S., Ozer, O., & Yanardag, M. Z. (2019). Perceived social support, quality of life and satisfaction with life in elderly people. Educational Gerontology, 45(1), 69-77.
Thoits. (2011). on merging Identity Theory and Stress Research. Social Psychology Quarterly. 54 (2), 101-112.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว