บทบาทของศูนย์ไซเบอร์ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย พ.ศ. 2560-2565
คำสำคัญ:
ศูนย์ไซเบอร์ทหาร, กองบัญชาการกองทัพไทย, ความปลอดภัยทางไซเบอร์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ภารกิจขอบเขตความรับผิดชอบของศูนย์ไซเบอร์ทหารกองบัญชาการกองทัพไทย พ.ศ. 2560-2565, 2) เพื่อวิเคราะห์ศึกษาแนวทางการพัฒนานโยบายของกระทรวงกลาโหมกองบัญชาการกองทัพไทย ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ 3) เพื่อศึกษาถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านการจัดการความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารสำคัญและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทหน้าที่ ประกอบด้วย (1) หน้าที่บทบาทความรับผิดรับผิดชอบของศูนย์ไซเบอร์ทหารเกิดจาก พ.ร.บ. การจัดตั้งกองทัพไทย (2) การจัดตั้งศูนย์ไซเบอร์ทหารกองบัญชาการกองทัพไทยอาศัยความร่วมมือของทุกเหล่าทัพในการดำเนินการเพื่อให้เห็นภาพให้เห็นภาพสนามรบในมิติเดียว (3) การดำเนินการทางไซเบอร์เชิงรุกเพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาล และ (4) หน่วยงานไซเบอร์ของแต่ละเหล่าทัพมีความเป็นเอกเทศสูงทำให้การบูรณาการร่วมทำได้ยาก 2) การพัฒนานโยบาย พบว่า (1) กระทรวงกลาโหมขาดทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการ กำหนดมาตรฐานของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในมิติไซเบอร์ให้มีประสิทธิภาพ (2) กระทรวงกลาโหมไม่ควรอนุญาตให้มีการจัดซื้ออุปกรณ์การป้องกันเครื่องปลายทางแบบแยกการ (3) กระทรวงกลาโหมไม่ควรอนุญาตให้มีการจัดซื้ออุปกรณ์การป้องกันที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบแยกการ และ (4) นโยบายการจัดซื้อโปรแกรมระบบปฏิบัติการและโปรแกรมอรรถประโยชน์ประเภทออฟฟิศของกระทรวงกลาโหมควรจัดหาในภาพรวม 3) การสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านจัดการจัดการความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ พบว่า (1) เกิดความไม่คล่องตัวขององค์กรในเรื่องระเบียบปฏิบัติทางราชการ (2) มิติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ (3) ภาครัฐควรกำหนดหลักสูตรและองค์ความรู้ทางไซเบอร์ให้แก่โรงเรียนและมหาวิทยาลัย และ (4) ประเทศไทยยังขาดหน่วยงานที่เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาทางไซเบอร์ให้กับประชาชนในพื้นที่
References
จินดา สระสมบูรณ์. (2558). ปฏิบัติการสงครามไซเบอร์ กองบัญชาการกองทัพไทย. รัฏฐาภิรักษ์, 57(2), 57-69.
ชฎาภรณ์ สิงห์แก้ว. (2564).บทบาทภาครัฐในการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และสังคม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 539-552.
นริศรา พลอยประไฟ. (2564). แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรหน่วยไซเบอร์ทางทหาร รองรับยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง. ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2567, จาก http://awc.ac.th/ storage/docs/research/570.pdf
ศูนย์ไซเบอร์ทหาร. (2563). แนวทางการดำเนินการจัดการความเสี่ยงด้านไซเบอร์ของ สปช. ทหาร. กรุงเทพฯ:สำนักงานปลัดบัญชีทหาร.
สัญญา เคณาภูมิ และ และบุรฉัตร จันทร์แดง (2562) ตัวแบบทฤษฎีการน านโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัต. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 3(1), 95-116.
สำนักงานสภาพความมั่นคงแห่งชาติ. (2566). แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการชายแดนด้านความมั่นคง (2566-2670). สำนักงานสภาพความมั่นคงแห่งชาติ. ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2567, จาก https://www.nsc.go.th/
สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. (2666). แผนการพัฒนาดิจิทัล กระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2566-2570). ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2567, จาก https://opsd.mod.go.th/Content/PDF/66-70.aspx
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์การรักษาความ มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2560). นโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยความมั่นคง แห่ง ชาติ (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ.
Bartholomees, J. B. Jr. (Ed.). (2012). U.S. Army War College guide to national security issues volume II: National security policy and strategy (5th ed.). Carlisle, PA: Strategic Studies Institute, U.S. Army War College.
Kello, L. (2017). The virtual weapon and international order. JSTOR. https://doi.org/10.2307/ j.ctt1trkjd1
Meinhart, R. M. (2010). Chapter 7: National military strategies: 1990 to 2009. The U.S. Army War College guide to national security issues, 103-118. https://www.jstor.org/stable/ resrep12024.9
NATO Cooperative Cyber Defence Centre of Excellence. (2017). Tallinn-based NATO Cooperative Cyber Defence Centre of Excellence is Expanding. Retrieved September 23, 2024, from https://ccdcoe.org/news/2017/tallinn-based-nato-cooperative-cyber-defence-centre- of-excellence-is-expanding/
Olga, V., et al. (2020). Cybersecurity as a Component of National Security of the State. Journal of Security and Sustainability Issues, 9(3), 775-784.
Schmitt, M. N. (Ed.). (2013). Tallinn Manual on the International Law Applicable to Cyber Warfare. New York: Cambridge University Press.
Singer, P. W., and Friedman, A. (2014). Cybersecurity and cyberwar: What everyone needs to know. New York: Oxford University Press.
Williams, W. (1971). Social policy research and analysis: The experience in the federal social agencies (Policy sciences book series). New York: American Elsevier Pub.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว