กีฬาพื้นบ้าน วัวชน กับการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ภาคใต้ พ.ศ. 2540-2566

ผู้แต่ง

  • แสงสุริยเทพ พระมหาสุริยะ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุรพล ราชภัณฑารักษ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • จักรี ไชยพินิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เกรียงชัย ปึงประวัติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

กีฬาพื้นบ้านวัวชน, การเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ภาคใต้, ปฏิสัมพันธ์ทางการเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) โครงสร้างทางการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ภาคใต้ผ่านการกีฬาพื้นบ้าน วัวชน พ.ศ. 2540-2566 2) ปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นและประชาชนผ่านกีฬาพื้นบ้าน วัวชน ในพื้นที่ภาคใต้ พ.ศ. 2540-2566 และ 3) การใช้กีฬาพื้นบ้าน วัวชน เป็นฐานเสียงทางการเมืองของการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2540-2566 ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง จำนวน 23 คน จัดให้มีการสนทนากลุ่ม 2 กลุ่ม จำนวน 9 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการจัดระเบียบและตีความข้อมูลจากการวิจัยเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) โครงสร้างทางการเมืองท้องถิ่น ประกอบด้วย (1) นักการเมืองท้องถิ่นเป็นเจ้าของสนามวัวชนจำนวนมาก (2) กีฬาวัวชนเป็นชนิดกีฬาพื้นบ้านที่นิยมในหมู่ชนชั้นนำทางการเมืองในพื้นที่ภาคใต้ (3) วัวชนเป็นสัญญาลักษณ์ของการสร้างบารมีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ภาคใต้ (4) กีฬาวัวชนสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่ 2) ปฏิสัมพันธ์ทางการเมือง ประกอบด้วย (1) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนำทางการเมืองกับชนชั้นนำทางสังคม (2) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนำทางสังคมต่อหน่วยงานภาครัฐ (3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐต่อประชาชน (4) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับชนชั้นนำทางการเมือง (5) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนำทางการเมืองกับหน่วยงานภาครัฐ (6) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนำทางสังคมกับประชาชน และ 3) การใช้กีฬาพื้นบ้าน วัวชน เป็นฐานเสียงทางการเมือง ประกอบด้วย(1) นักการเมืองท้องถิ่นสร้างสนามชนวัว เพื่อเป็นฐานเสียงทางการเมือง (2) กีฬาวัวชนสามารถสามารถสร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกตั้งได้ (3) นักเลงวัวชนเป็นหัวคะแนนให้นักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ภาคใต้ (4) สนามวัวชนเป็นพื้นที่รณรงค์หาเสียงทางการเมืองของนักการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับชาติ

References

ฐาปวุฒิ โชติเชย และคณะ. (2565). องค์ความรู้ในการเลี้ยงวัวชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านในหมง ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 5(1), 50-69.

สิริณรินทร์ วินิจฉายะจินดา และคณะ. (2565). การสร้างฐานเสียงของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่สังกัดพรรคการเมืองช่วงปี พ.ศ. 2540-2557. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา5(2), 244-255.

มงคล เกษประทุม. (2552). การสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นกรณีศึกษาเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรบัณฑิต).มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รงค์ บุญสวยขวัญ. (2556). เศรษฐกิจและการเมืองการพนันวัวชนภาคใต้ (รายงานวิจัย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รงค์ บุญสวยขวัญ. (2559). การเมืองของการพนันวัวชนภาคใต้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 8(3), 241–266.

รงค์ บุญสวยขวัญ. (2563). การยอมรับกิจกรรมการพนันของชุมชนที่มีลักษณะพิเศษแห่งหนึ่งของจังหวัดในภาคใต้ตอนบน. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 7(1),

-86

ศักดา พลเข้ม และคณะ. (2564) .ประชาชนกับการมีส่วนร่วมต่อการเมืองการปกครองในท้องถิ่น. วารสารวิจัยวิชาการ, 4(2), 269-282

สุทธิชัย รักจันทร์. (2566). เงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการเมืองที่เอื้อให้นักการเมืองเข้ามามีบทบาท ในกีฬาชนวัวในจังหวัดพัทลุง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

อิทธิศักดิ์ วรกิจ. (2563). ความสัมพันธ์และรูปแบบของระบบอุปถัมภ์ในการเมืองท้องถิ่น: กรณีศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอ่างทอง. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(4), 156-172.

Bronikowska, M. A., & Groll, M. (2015). Cultural aspects of traditional sports and games. International Journal of Physical Education, 52(3), 1-14.

Brennan, M. (2023). Importance of incorporating local culture into community development. Retrieved September 22, 2023, from https://extension.psu.edu/importance-of-incorporating-local-culture-into-community-development Coakley, J. J. (2009). Sports in society: Issues and controversies (8th ed.). New York: McGraw-Hill.

Dedi Nofrizal et al. (2024). The role of traditional sports in maintaining and preserving regional culture facing the era of society 5.0. Retos, 60, 352-361.

Holger Preuss and Harry Arne Solberg. (2006). Attracting Major Sporting Events: The Role of Local Residents. European Sport Management Quarterly, 6(4), 391-411.

Mills, C. W. (1956). The power elite. New York: Oxford University Press.

Truman, D. B. (1971). The governmental process: Political interests and public opinion. New York: Alfred A. Yillopf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30