การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวผ้าขาวม้าอาร์เพท จากพลาสติกรีไซเคิลของชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของ ตำบลหนองขาว จังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
การเพิ่มมูลค่า, ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวคาร์บอนนิวทรัล, ผ้าขาวม้าอาร์เพท, พลาสติกรีไซเคิลของชุมชนบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี 2) พัฒนาและวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวจากพลาสติกรีไซเคิลของ 3) พัฒนาสินค้าต้นแบบผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว 4) ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นและมูลค่าเชิงเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น โดยดำเนินการวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วมโดยมีกลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ แกนนำและภาคีเครือข่าย จำนวน 120 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม แบบบันทึกกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้น และวิเคราะห์สาระสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รู้จักผ้าขาวม้าร้อยสีของชุมชนมากที่สุด ลักษณะสินค้าที่ต้องการ คือ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีน้ำหนักเบา ราคาระหว่าง 100 – 500 บาท ต้องการซื้อในแหล่งท่องเที่ยวโดยตรง และสื่อสารผ่านช่องทางเฟสบุ๊ค 2) ผลการพัฒนาและวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนพบว่าชุมชนวางแนวทางในการพัฒนาผ้าขาวม้าอาร์เพทเพื่อเพิ่มมูลค่า 3) ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาได้แก่ ผ้าขาวม้า กระเป๋าสะพาย กระเป๋าแว่น และพวงกุญแจจากเศษผ้า 4) ผลการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้น พบว่าผ้า 100 เมตร มีปริมาณก๊าซเรือนกระจก 1.6015 ตันคาร์บอนเทียบเท่า มีผลตอบแทนต่อหน่วยการลงทุนอยู่ที่ 1:1.52 และเกิดรูปแบบการบริการจัดการผลิตผ้าขาวม้าอาร์เพทจากกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). Carbon Neutral Tourism คู่มือแนวทางการออกแบบและพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
กรุงเทพธุรกิจ. (2566). 'ท่องเที่ยวยั่งยืน' คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ดึงกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ. ค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/environment/1099455
เกศินี ประทุมสุวรรณ, พีรพัฒน์ พันศิริ และอรรถ อารีรอบ. (2566) การพัฒนานวัตกรรมชุมชนแบบมีส่วนร่วมบนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุรรณภูมิ, 5(2), 257-270.
เขวิกา สุขเอี่ยม. (2566). แผนงานการบริหารจัดการและเพิ่มมูลค่าขยะชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวชุมชนแบบคาร์บอนนิวทรัล ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
ศุภกร ศิริสุนทร. (2565). ทำความรู้จักกับ Cradle to Cradle เทรนด์ใหม่ ของการผลิตสินค้าให้มีอายุยืนยาว. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.greenery.org/c2c-cradle-to-cradle/
สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. (มปป.). คาร์บอนฟุตพริ้นของผลิตภัณฑ์. ค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.nstda-tiis.or.th/measuring_and_manage/cf/
วรสุดา ขวัญสุวรรณ และสาทินี วัฒนกิจ. (2563). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือทิ้งสู่ผลิตภัณฑ์ออกแบบตกแต่งและแฟชั่น: ชุมชนต้นแบบเทศบาลเมืองเขารูปช้าง (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
วิสาขา ภู่จินดา และณัฏฐธิดา พัฒนเจริญ. (2564). การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาชุมชนบ้านสะนำตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(2), 301-319
วีกรีน. (15 มกราคม 2567). คาร์บอนฟุตพริ้น (Carbon Footprint) สำคัญอย่างไร ?. ค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2567, จาก https://vgreenku.com/knowledge/article-carbon-footprint-1/
อติคุณ เลรามัญ และคณะ. (2564) การพัฒนาสินค้าของที่นะลึกที่สะท้อนอุตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว. วารสารมจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(4), 306-318.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. John Wiley& Sons. de Chematony, L., Dall'Olmo Riley, F., & Harris, F. (1998). Criteria to assess brand success. Journal of Marketing Management, 14(7), 765-781.
Deese, R. S. (2024). The Anthropocene. In Edward Elgar Publishing eBooks.15–18. https://doi.org/10.4337/9781802209204.ch02
Gupta, K. (2024). Carbon Credits and Offsetting: Navigating Legal Frameworks, Innovative Solutions, and Controversies. International Journal for Multidisciplinary Research, 6(2). https://doi.org/10.36948/ijfmr.2024.v06i02.17370
Lenzen, M., Sun, Y. Y., Faturay, F., Ting, Y. P., Geschke, A., & Malik, A. (2018). The carbon footprint of global tourism. Nature Climate Change, 8(6), 522–528.
Lauterborn, B. (1990). New Marketing Litany: Four Ps Passé: C-Words Take Over. Advertising Age, 61(41), 26.
McDonough, W., & Braungart, M. (2002). Cradle to cradle: remaking the way we make things (First edition). New York: North Point Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว