โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • พิมพ์โศภิษฐ์ สดเอี่ยม สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • บุญช่วย ศิริเกษ สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • กรรณิกา ไวโสภา สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

คำสำคัญ:

โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นปัจจัยเชิงสาเหตุ, องค์กรสมรรถนะสูง, ภาวะผู้นำแบบโปร่งใส

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงและระดับการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 9,104 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 1,092 คน ใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน จำแนกตามจังหวัดและตำแหน่งหน้าที่ การสัมภาษณ์เชิงลึกใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันโมเดลสมมุติฐาน 2) แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) แบบสัมภาษณ์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนาและสถิติโมเดลสมการโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) แนวทางการพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่าใช้ได้ทุกแนวทาง

References

จริยา สารวารี และคณะ (2560). บรรยากาศจริยธรรมในสถานที่ทำางานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารนราธิวาสราชนครินทร์, 9(2), 52–64.

ณัชญานุช สุดชาดี และคณะ (2561). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหารและพฤติกรรมองค์การที่ส่งผลต่อองค์การ สมรรถนะสูง: การวิเคราะห์อิทธิพลผ่านตัวแปรคั่นกลาง. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 67-77.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2551). องค์การสมรรถนะสูงกับความรับผิดชอบต่อสังคม. วารสารการจัดการภาครัฐและเอกชน, 15(2), 11-36.

เทียนศรี บางม่วงงาม. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่ผ่านโครงการอบรมวิศวกรใหม่กรณีศึกษา: บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2548). สถิติชวนใช้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.

ปวลิน โปษยานนท์. (2560). การพัฒนารูปแบบเชิงโครงสร้างองค์กรที่มีสมรรถนะสูงของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จํากัด. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 6(3), 303-333.

พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง. (2548). บนเส้นทางที่สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: เอส แอนด์ จี กราฟฟิค.

ภควัต สงวนจีน. (2565). อิทธิพลของการรับรู้วัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงาน เชิงนวัตกรรมของพนักงานขาย เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามบทบาทของการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และการรับรู้การสนับสนุนทางสังคม (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วสันต์ ชวลิตวรกุล. (2560). การศึกษาถึงปัจจัยด้านการบริหารความหลากหลาย (Diversity Management) ที่มีผลต่อการนำองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง (Hi-Performing Organization) ขององค์กรรัฐวิสากิจในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วันทิตา โพธิสาร และคณะ. (2563). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(5),328-345.

วาสนา เลิศมะเลา. (2561). การพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 9(2), 209-248.

วิลาศ เจริญชัย. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัมหาสารคาม.

วรปรัชญ์ เนตรเอี่ยม. (2556). อิทธิพลของบรรยากาศเชิงจริยธรรมที่มีผลต่อความผูกพันด้านจิตใจต่อองค์การผ่านความสุขในการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) เขตภาคกลาง 2 (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2563). การประเมินผลกระทบของโควิด-19 ต่อสังคมและเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

สนุ่น มีเพชร. (2562). สมรรถนะของครูในสถาบันอาชีวศึกษาตามกรอบมาตรฐานความรู้และทักษะวิชาชีพ.วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 9(1), 52-60.

สิวลี ศิริไล. (2561). การสร้างบรรยากาศทางจริยธรรมในองค์กร: ทรรศนะทางจริยศาสตร์เชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา.

สุนิสา ธิปัตย์ และคณะ. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของกรมแพทย์ทหารบก. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 11(2), 103-118.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2558). เกณฑ์คุณภาพการจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: วิชั่น พริ้นท์ แอน มีเดีย.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา. (2561). คู่มือการประเมินตนเองและการจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (Individual Development Plan : ID PLAN) ของครูสายงานการสอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

อนงค์ศิริ โรจนโสดม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรพินท์ บุญสิน. (2563). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 18(2), 87-94.

Blanchard, K. (2006). Leading at A High Level. Retrieved April 20, 2024, from http://www.kenblanchard.com/img/pub/leading_ata_higherlevel_bookpreview.pdf

Dave Nevogt. (2023). How to Be a Transparent Leader. Retrieved April 20, 2024, from http://cherrymountaincottages.com/index-233.html

De Waal, A. and Sultan, S. (2012). Applicability of the High Performance Organization Framework in the Middle East: The case of Palestine Polytechnic University. Education Business and Society: Contemporary Middle Eastern Issues, 5(3), 213-223.

De Waal, A.A. (2007). The characteristics of a high performance organization. Business Strategy Series, 8(3), 179-185.

De Waal, F. B. M. (2005) Our Inner Ape: A Leading Primatologist Explains Why We Are Who We Are. New York: Riverhead Books.

Diamantopoulos, A. & Siguaw, J. (2000). Introducing LISREL. London: Sage Publication.

Ferdinand, A. T. and Wahyuningsih, W. (2018). Salespeople's innovativeness: a driver of sales performance. Management & Marketing, 13, 2.

Flood, F. and Klausner, M. (2018) High-performance work teams and organizations. In: Global encyclopedia of public administration, public policy, and governance. Springer International Publishing, Meteor, pp 1–6.

Garther Group. (2549). การพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูง (High performance organization). กรุงเทพฯ: วิชั่น พริ้นท์ แอนด์มิเดีย.

Hair, J.F., et al. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th Edition. New York: Pearson.

Joreskog, K.G. & Sorbom, D. (1989). LISREL 7: User's reference guide. Mooresville, IN: Scientific Software.

Maher, L. (2010). Creating the culture for innovation: A practical guide for leaders. Conventry: NHS Institute for Innovation and Improvement.

McClelland, D. C. (1975). Power: The inner experience. New York: Irvington Publishers.

Mroueh, M. and de Waal, A.D. (2018). Is the high performance organization framework applicable to Takaful insurance companies. Journal of Islamic Accounting and Business Research, 9(1),77-90.

Norman, S. M., Avolio, B. J. & Luthans, F. (2010). The impact of positivity and transparency on trust in leaders and their perceived effectiveness. The Leadership Quarterly, 21(3), 350–364.

Polit, D.F. and Beck, C.T. (2010). Generalization in quantitative and qualitative research: Myths and strategies. International Journal of Nursing Studies, 47(11), 1451-1458.

Suksawang, P. (2014). The Basics of Structural Equation Modeling. Princess of Naradhiwas University Journal, 6(2), 136-145.

Wallapha, A. (2019). The effect of innovative leadership on competency of creating high performance organization. Kasetsart journal of social sciences, 40, 311-318.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-08