รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม เพื่อการส่งออกในกรุงเทพและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ดำรงศักดิ์ เครือแก้ว หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • บันลือ เครือโลติกุล หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • ภาวัช รุจาฉันท์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

ศักยภาพของผู้ประกอบการ, อุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม, การเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้า, นวัตกรรมและการบริหารจัดการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสุขภาพและความงามเพื่อการส่งออกในกรุงเทพและปริมณฑล การเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้า นวัตกรรมและการบริหารจัดการ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้า นวัตกรรม และการบริหารจัดการ ที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสุขภาพและความงามเพื่อการส่งออกในกรุงเทพและปริมณฑล และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสุขภาพและความงามเพื่อการส่งออกในกรุงเทพและปริมณฑล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสุขภาพและความงามเพื่อการส่งออกในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 320 ตัวอย่าง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่กำกับธุรกิจส่งออก เจ้าหน้าที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ผู้ประกอบการผลิตสินค้าประเภทสุขภาพและความงามเพื่อการส่งออกในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 11 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการองค์กร การเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้า การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสุขภาพและความงามเพื่อการส่งออก มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) นวัตกรรม ที่มีค่าอิทธิพลรวมต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสุขภาพและความงามเพื่อการส่งออกในกรุงเทพและปริมณฑลมากที่สุด รองลงมาคือการเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้า และการบริหารจัดการ ตามลำดับ และ 3) รูปแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นใหม่หรือเรียกว่า “ILOE Model” เป็นรูปแบบจำลองให้ผู้ประกอบการใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพ ที่มุ่งเน้นให้มีการนำองค์กร การให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจัดการความรู้ การมุ่งเน้นทรัพยากร และผลลัพธ์การดำเนินการ

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2567). พาณิชย์ เดินหน้ายกระดับผู้ประกอบการ ต่อยอดตลาดเมืองสมุนไพร. ค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.dbd.go.th/news/131060767

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล. (2565). 8 เดือนไทยส่งออกเครื่องสำอางพุ่ง 8% ตลาดอาเซียนครองแชมป์. ค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2567, https://www.thaicosmetic.org/index.php?start=9

ปัณฑารีย์ ฟองแพร่. (2559). การพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพการทำงานสูง: กรณีศึกษาธนาคารยูโอบี. วารสารบริหารธุรกิจ, 32(1), 59-72.

ภัสธารีย์ เรืองชัยพัฒนะ. (2563). ปัจจัยการบริหารองค์กรที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเสริมในกรุงเทพมหานคร. วารสารสวนสุนันทาและการวิจัย, 15(1), 62 -75.

ศศิชา กัณฑพงษ์ . (2561). พฤติกรรมของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อข้าวสารผ่านช่องทางออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2567). รายงานสถานการณ์ MSME ปี 2567. ค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.sme.go.th/uploads/file/20240529-154251_รายงานสถานการณ์_MSME2567_TH_Online.pdf

สมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทย. (2564). ตลาดเครื่องสำอาง: ไทยส่งออกเป็นอันดับ 10 ของโลกของโลก. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2566, จาก https://thaicosmetic.org/index.php/tcmanews/news-from-media/74-10

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, (2565). มาตรการส่งเสริมการลงทุนภาคการเกษตร. ค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.boi.go.th/un/boi_event_detail?module=news &topic_id=131039

อนุกูล โกมลอุปถัมภ์ และคณะ. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจผลิตกล้วยไม้เพื่อการส่งออก. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(1), 252-270.

Boal, K., & Hooijberg, R. (2019). Strategic Leadership Research: Moving on. Leadership Quarterly, 11(2), 515-549.

Chowdhury, M. S., Alam, Z., & Arif, M. I. (2018). Factors that contribute to the development of entrepreneurs small and medium sized enterprises: Evidence from Bangladesh. Business and Economic Research, 3(2), 38.

Drucker, P. F. (2015). Knowledge-Worker Productivity: Job-Oriented Skills (7th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Eriksson, J. & Li, M. (2018). Factors development of entrepreneurial small and medium sized enterprises in the Gnosjö municipality. Journal of Contingencies and Crisis Management, 27(2), 130-144.

Foxall, G., & Goldsmith, R. E. (1998). Consumer psychology for marketing (2nd ed.). London: Routledge.

Grace, J. B. (2008). Structuralequation modeling for observational studies. Journal of Wildlife Management, 72(1), 14-22.

Gunaratne, K. A. (2008). Conceptualising a model to promote "post start-up" small business growth in Sri Lanka (Doctoral dissertation). University of Canterbury.

Kotler, P. (2013). Principles of marketing. (9th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Smith, A. (1982). The wealth of nations: Books I-III (A. S. Skinner, Ed.). London: Penguin Books.

Schermerhorn, J. R., Jr., Hunt, J. G., & Osborn, R. N. (2002). Organizational behavior. (7th ed.). New Jersey: John Wiley & Sons.

Simon, H. A. (1976) Administrative Behavior-A Study of Decision-Making Processes in Administrative Organization (3rd Ed.). New York: Macmillan Publishing Co. Inc.

Walters, C. G. (1979). Consumer behavior: An appraisal. JAMS 7, 273–284.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30