การพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • ธนกฤช โชควรทรัพย์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • บันลือ เครือโลติกุล สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • สาวิทย์ หลาบมาลา สาขาการบริหารการค้าและการเมืองอย่างยั่งยืนในโลกยุคใหม่ มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

ความสามารถทางการแข่งขัน, การม่งเน้นการเรียนรู้, การมุ่งเน้นตลาด, ความสามารถทางนวัตกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก การมุ่งเน้นตลาด การมุ่งเน้นการเรียนรู้ในองค์กร ความสามารถทางนวัตกรรม 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จำนวน 300 ตัวอย่าง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมนโยบายในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ตัวแทนผู้ประกอบการประเภทคอนโดมิเนียมในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกรวมทั้งสิ้น 13 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถทางนวัตกรรม การมุ่งเน้นตลาด การมุ่งเน้นการเรียนรู้ในองค์กร และการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโด มีความสำคัญระดับมาก ) นวัตการมุ่งเน้นตลาดที่มีค่าอิทธิพลรวมต่อการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก มากที่สุดรองลงมาคือความสามารถทางนวัตกรรม และการมุ่งเน้นการเรียนรู้ ตามลำดับ และ 3) แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน ได้แบบจำลองเรียกว่า “MILD Model” เป็นโมเดลที่มุ่งเน้นให้มีการนำองค์กร การให้ความสำคัญสินค้าและบริการมีเอกลักษณ์ การสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น การได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า และการสร้างความแตกต่างของสินค้า

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม (ประเทศไทย) ปี 2552 ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. ค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2566, จาก https://tsic.dbd.go.th/index

ธนาคารกรุงศรีอยุทธยา จำกัด (มหาชน). (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566 : ธุรกิจที่อยู่อาศัยต่างจังหวัด (6 จังหวัดหลัก). ค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2566, จาก https://www.krungsri.com/th/ research/industry/industry-outlook/real-estate/housing-in-upcountry/io/io-housing-in-upcountry-21

นิลาวัลย์ สว่างรัตน์. (2562). อิทธิพลของความเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการตลาด การมุ่งเน้นนวัตกรรม และการมุ่งเน้นการเรียนรู้ในฐานะตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงสาเหตุต่อความสามารถในการแข่งขันผลการดำเนินงานขององค์การในอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 3(8), 19 -32.

ประทีป จตุรงศธร. (2565). ผลกระทบของการมุ่งเน้นตลาด การมุ่งเน้นการเรียนรู้ การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการต่อความสามารถทางนวัตกรรมและผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปรารถนา หลีกภัย (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถทางนวัตกรรมของธุรกิจโรงแรมในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนของประเทศไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 12(1), 11-21.

พัชรภา กลิ่นจันทร์ชุม. (2564). สถานการณ์ที่พักอาศัยใน 6 จังหวัดหลักของภูมิภาค. ค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2566, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/real-estate/housing-in-upcountry/io/io-housing-in-upcountry-2023-2025

พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561, พฤษภาคม 14). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอน 34 ก, หน้า 1-33.

วัชรพันธ์ ผาสุข. (2557). การมุ่งเน้นตลาดและการมุ่งเน้นการเรียนรู้ในการพัฒนาความสามารถทาง นวัตกรรมและผลการดาเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลาง. วารสารการจัดการ ภาครัฐและภาคเอกชน, 21(2), 102-126.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และกรรณิการ์ สุขเกษม. (2547). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัยปัญหาปัจจุบันและการวิจัยอนาคตกาล. กรุงเทพฯ: สามลดา.

อภิญญา เสมเสริมบุญ. (2556). ปัจจัยการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในย่านถนนทองหล่อกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

Asisi, G. I. & Egessa, R. (2023). Market Innovation and Competitiveness of Commercial Banks in Kenya. African Journal of Empirical Research, 4(2), 144-156.

Baker, W. E., & Sinkula, J. M. (2019). Learning orientation, market orientation, and innovation: Integrating and extending models of organizational performance. Journal of market-focused management, 4(4), 295-308.

Calantone, R. J., Cavusgil, S. T., & Zhao, Y. (2016). Learning orientation, firm innovation capability, and firm performance. Industrial marketing management, 31(6), 515-524.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Grace, J. B. (2008). Structural Equation Modeling for Observational Studies. Journal of Wildlife Management, 72(1), 14-22.

Narver, J. C., Slater, S. F., & MacLachlan, D. L. (2019). Total market orientation, business performance, and innovation (Vol. 116). Cambridge, MA: Marketing Science Institute.

Porter, M. E. (1980). Competitive strategy: Techniques for analyzing industries and competitors. New York: Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30