รูปแบบความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • เตวิช พฤกษ์ปีติ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • บันลือ เครือโลติกุล สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • ยอร์ช เสมอมิตร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

ความสำเร็จของธุรกิจเฟรนไชส์, การรับรู้ตราสินค้า, กลยุทธ์การตลาด, การปรับตัวขององค์กร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การรับรู้คุณค่าตราสินค้า กลยุทธ์การตลาด และการปรับตัวขององค์กร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุเที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3) เพื่อนำเสนอแนวทางรูปแบบความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 320 ตัวอย่าง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก ประกอบด้วย นายกสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์แห่งประเทศไทย นายกสมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ และตัวแทนผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ รวม 11 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การปรับตัวขององค์กร การรับรู้คุณค่าตราสินค้า และกลยุทธ์การตลาดความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) รับรู้คุณค่าตราสินค้า มีค่าอิทธิพลรวมต่อความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมากที่สุดรองลงมาคือกลยุทธ์การตลาด และการปรับตัวขององค์กร ตามลำดับ และ 3) ได้แบบจำลองที่พัฒนาขึ้นใหม่หรือเรียกว่า “BMOF Model” เป็นรูปแบบจำลองให้ผู้ประกอบการใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

References

กัญญ์วรา ไทยหาญ, (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ตราสินค้า คุณค่าตราสินค้ากับความจงรักภักดีในตราสินค้า ของผู้ใช้เครื่องสำอางนำเข้าจากต่างประเทศในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 1(6), 39-52

กัลยารัตน์ หัสไรค์. (2565). กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(41), 35-49.

กรุงศรี กูรู. (2565). เป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง หรือซื้อแฟรนไชส์ดี. ค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2566, จาก https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/own-business-or-buy-franchise

ธนันธร มหาพรประจักษ์. (2563), ปรับธุรกิจให้อยู่รอดในยุค New Normal. ค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2566, จาก

https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_19 Oct2020.aspx

นนทกร อาจวิชัย และ มาริสา ไกรฤกษ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการบริหารงานตามมาตรฐานการบริหารการพยาบาลของหัวหน้ากลุ่มการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 4(1), 112-118.

แฟรนซ์บิส. (2565). การพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์. ค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2566, จาก https://franzbiz.com/franchise-new.

พวงรัตน์ เกสรแพทย์. (2560). การบริหารและจัดการการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภัค หมื่นนิกร. (2565). นำทัพปังแฟรนไชส์ 2 ปี 20 สาขา. ค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2566, จาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9660000079666

สุนีภัสญ์ สันทองธนากิตต์. (2562). การรับรู้คุณค่าของตราสินค้าและส่วนผสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณค่าการบริการของโรงพยาบาล. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ, 2(8), 42 -60.

สายทิพย์ โสรัตน์. (2560). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อผลการดำเนินงานธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในประเทศไทย.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(1), 28-39.

Abbas, J., et al. (2020). Sustainable innovation in small medium enterprises: the impact of knowledge management on organizational innovation through a mediation analysis by using SEM approach. Sustainability, 12(6), 2407.

Aaker, D. A. (2006). Brand portfolio strategy. Strategic Direction, 22(10), 45-50.

Alfalasi,et al. (2021). Implications on educational management during the COVID-19

pandemic. Journal for Researching Education Practice and Theory, 4(2), 88-127.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.

Dezdar, S., & Ainin, S. (2011). The influence of organizational factors on successful ERP implementation. Management Decision, 49(6), 911-926.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2016). The Balance Scorecard: Translating Strategies into Action. Boston: Harvard Business School Press.

Keller, K. L. (2018). Branding and brand equity. London: Sage Publications.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Lin, J., & Shi, Y. (2020). Unraveling the drivers of self-directed learning behavior in insurance customer service representatives (CSR) in Guangdong, China: A TPB perspective. An International Journal of Management and IT, 15(1), 47- 56

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30