การสร้างแบรนด์ทางการเมืองของพรรคก้าวไกล

ผู้แต่ง

  • รติกา พันธ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พัด ลวางกูร คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • กานต์ บุญยะกาญจน คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • กฤติธี ศรีเกตุ คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การสร้างแบรนด์ทางการเมือง, พรรคก้าวไกล, การตลาดทางการเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) บริบท ที่มา และปัจจัยแวดล้อมทางการเมืองของพรรคก้าวไกล และ 2) การสร้างแบรนด์ทางการเมืองของพรรคก้าวไกล เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ส.ส. พรรคก้าวไกล เขตบางกะปิ และผู้จัดการการสื่อสารและรณรงค์พรรคก้าวไกล รวม 3 ราย เครื่องมือที่ใช้คือการสัมภาษณ์
เชิงลึก และการเก็บข้อมูลการค้นคว้าวิจัยทางเอกสาร การสังเกตการณ์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียบนแพลตฟอร์ม TikTok ของพรรคก้าวไกล ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 พฤษภาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยการตลาดทางการเมืองของ Lee–Marshment และการเคราะห์วาทกรรมวิเชิงวิพากษ์และการวิเคราะห์ 3 มิติ ของ Fairclough

ผลการวิจัย พบว่า 1) จากการศึกษาบริบท ที่มา และปัจจัยแวดล้อมทางการเมืองของพรรคก้าวไกล เป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อน สนับสนุน และเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคก้าวไกล แต่ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นอุปสรรคทางการเมือง ในการจัดตั้งรัฐบาลที่ถือว่าไม่ประสบผลสำเร็จ อาจกล่าวได้ว่าพรรคก้าวไกลมีกระบวนการสร้างแบรนด์มาเป็นอย่างดี แต่ท่ามกลางบริบท ที่มา ปัจจัยแวดล้อมทางการเมืองที่เกิดขึ้น ณ ขนาดนั้น จึงส่งผลให้พรรคก้าวไกลไม่สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์ และจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จนั้นเอง เป็นผลพวงมาจากกลุ่มอำนาจเก่าที่ยังคงอยู่ มาจนถึงปัจจุบัน และ 2) จากการศึกษาการสร้างแบรนด์ทางการเมืองของพรรคก้าวไกล พบว่า พรรคก้าวไกลเป็นพรรคการเมืองที่มุ่งเน้นการตลาดเป็นหลัก ที่มีการนำเครื่องมือทางการตลาดมาปรับใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง ใน พ.ศ. 2566 ผ่านการสื่อสารออนไลน์ และ ออนไซต์ รวมทั้งการรณรงค์หาเสียงรูปแบบใหม่จนนำไปสู่การเกิดเป็นไวรัล หรือที่เรียกว่า หัวคะแนนธรรมชาติ

References

บุญชิรา ภู่ชนะจิต. (2566). สื่อสังคมออนไลน์ต่อการรณรงค์ทางการเมือง. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 8(2), 204-219

บีบีซี นิวส์ ไทย. (2566). เลือกตั้ง 2566: โจทย์ก้าวไกลบริหารชัยชนะ 14 ล้านเสียง. ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2567, จาก https://www.bbc.com/thai/articles/cd1rvvl9ly6o

นันทนา นันทวโรภาส และ รหัส แสงผ่อง.(2562). การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญปีพ.ศ. 2560: ศึกษากรณีการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 24 มีนาคม 2562. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 274-288

บีบีซีไทย. (2563). เลือกตั้ง 2562 : กกต. ประกาศรับรอง 149 ส.ส. บัญชีรายชื่อ. ค้นเมื่อ 21 กันยายน 2567, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-48197070

ปุรวิชญ์ วัฒนสุข. (2566). “การเมือง” หลังเลือกตั้ง 66 การเปลี่ยนแปลงกับ “พลังสื่อโซเชียล”. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2567, จาก https://tu.ac.th/thammasat-070666-politics-after-the-election

พรรคก้าวไกล. (2566). เปิดรับสมัครผู้ลงเลือกตั้ง นายก อบจ. และสมาชิกสภาจังหวัด (สจ.). สำนักข่าวบางกอกทูเดย์ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).

พัด ลวางกูร. (2563). ความคิดทางการเมืองไทยในนโยบายการพัฒนา. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 51(2), 99-122.

วรัญญา ประเสริฐ. (2559). การสื่อสารทางการเมืองในรายการคืนความสุขให้คนในชาต ศึกษาระหว่างปี พ.ศ.2557-2559 (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2547). Brand Management. กรุงเทพฯ : Higher Press.

สามชาย ศรีสันต์. (2561). ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมวิพากษ์ บทวิเคราะห์วาทกรรมการพัฒนา/หลังการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สมมติ.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2541). การสื่อสารกับการเมือง. กรุงเทพฯ: ประสิทธิ์ แอนด์ พริ้นติง.

Alderman, P. (2023). Branding authoritarian nations: Political legitimation and strategic national myths in military-ruled Thailand. New York: Routledge.

Colombier, A. (2023). How Thailand’s Move Forward Party’s fandom strategy shaped the 2023 general election. New York: Routledge.

Foucault, M. (2002). The archaeology of knowledge. (2nd ed.). London: Routledge.

Kevin Lane Keller. (2009). Building strong brands in a modern marketing communications environment. Journal of Marketing Communications, 15(2-3), 139–155.

Lees-Marshment, J., et.al. (2019). Political Marketing: Principles and Applications. London and New York: Routledge.

Moffitt, B. (2016). The global rise of populism: performance, political style, and representation. Stanford, CA: Stanford University Press.

Ormrod, H., & O'Shaughnessy. (2013). Political marketing: Theory and concepts. London: SAGE Publications Ltd.

Van Dijk, & T., A. (1998). Ideology. A multidisciplinary approach. London: Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30