การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21, การบริหารสถานศึกษา, โรงเรียนมัธยมศึกษาบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) เพื่อสร้างโปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 4) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลโปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูหัวหน้างาน จำนวน 830 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เนื้อหา แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 1) การมีวิสัยทัศน์และกำหนดเป้าหมาย 2) การนำและการสื่อสาร 3) การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ 4) การสร้างความร่วมมือและการทำงานเป็นทีมและ 5) การสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลง
- สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวมการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีความต้องการจำเป็นลำดับแรก คือ ด้านการนำและการสื่อสาร รองลงมา คือ ด้านการสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลง ด้านการสร้างความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม ด้านการมีวิสัยทัศน์และกำหนดเป้าหมาย และ ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ
- องค์ประกอบของโปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 7 องค์ประกอบ คือ 1) ชื่อและหลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการพัฒนา 4) โครงการ/กิจกรรม 5) การประเมินผล 6) โครงสร้างเวลา และ 7) สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- ผลการทดลองใช้โปรแกรมการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
คำสำคัญ: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21, การบริหารสถานศึกษา, โรงเรียนมัธยมศึกษา
References
กนกอร สมปราชญ์. (2562). ภาวะผู้นำกับคุณภาพสถานศึกษา Leadership And School Quality. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กรรณิกา กันทำและพระครูธรรมาภิสมัย. (2561). ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12 (2), 21-27.
ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2562). ศาสตร์และศิลป์ทางการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น :มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปริญญา มีสุข. (2552). ผลของการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาทางวิชาชีพแบบมีส่วนร่วมของครู. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542. (19 สิงหาคม 2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74ก, หน้า 3.
พิมพ์ศนิตา จึงสุทธิวงษ์. (2563). โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำเชิง สร้างสรรค์ สำหรับนักวิชาการศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
รัตนะ บัวสนธ์. (2563).การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา แนวคิดและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธ์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). การการวิจัยและพัฒนาการศึกษาไทย. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย, 8 (2), 1-17.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. ค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2562, จาก http://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580). (13 ตุลาคม 2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82ก, หน้า 1.
อรสา มาสิงห์. (2562). การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 13(2), 105.
Hoy, W.K. and Miskel, C.G. (2013). Educational administration: Theory, research, and practice. 6th ed. New York : McGraw-Hill.
Monisha Rosby. (2020). Examining Transformational Leadership and Organizational Change in High-Poverty Urban Schools (Ph.D. Dissertation, Department of Education degree, St). Thomas University.
Renae Bryant. (2017). Teacher Leader Behaviors: A Quantitative Study of A Teacher Leadership Development Academy and Teacher Leaders’ Five Practices of Exemplary Leadership Behaviors (Ph.D. Dissertation, Department of Education in Organizational Leadership). California University La Verne.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว