พระพุทธศาสนากับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สอาด บรรเจิดฤทธิ์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ต

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักธรรมของพระพุทธศาสนากับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมจากพระไตรปิฎก ตำรา หนังสือ งานวิจัย บทความทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการสนทนากลุ่มย่อยแบบออนไลน์กับนักบริหารด้านทรัพยากรมนุษย์จำนวน 5 คน และผู้มีประสบการณ์ด้านพระพุทธศาสนาจำนวน 5 รูป/คน ตรวจสอบความถูกต้องด้านเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาที่เป็นฆราวาสและพระภิกษุจำนวน 2 รูป/คน เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิทยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพคือการตีความ

       ผลการวิจัยพบว่า หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้รับการยอมรับว่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทยได้ หลักธรรมที่สามารถนำไปใช้เป็นรากฐานของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้คืออริยสัจ 4 อันประกอบด้วย ทุกข์ สมุห์ทัย นิโรธ มรรค และยังมีหัวข้อธรรมอื่น ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับแนวปฏิบัติต่าง ๆ ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทยได้เช่นเดียวกัน เช่น สัปปุริสธรรม 7 นำมาใช้กับการสรรหาว่าจ้างบุคคลากร สังคหวัตถุ 4 นำมาใช้กับการบริหารผลตอบแทน และ กัลยาณมิตรธรรม 7 นำมาใช้กับพนักงานสัมพันธ์ เป็นต้น

 

References

เธียรวิทย์ เสริมใหม่. (2561). รากฐานวัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา. วารสาร มจร. พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 2(1), 119-132.

บุญมี พันธุ์ไทย. (2565). การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปรัญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 1(2), 1-10.

ปัญญา ใช้บางยาง และคณะ. (2548). ธรรมาธิบายหลักธรรมในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระครูสิทธิธรรมาภรณ์ และคณะ. (2563). พระพุทธศาสนากับการบริหารทรัพยากรมนุษย์, Journal of Modern Learning Development, 5(3), 219-229.

พระไตรปิฎกฉบับสากล. (2561). วิถีธรรมจากพุทธปัญญา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธัมมจิตโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตโต. (2547). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: พระพุทธศาสนาธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2557). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงขยาย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์

ราชวิทยาลัย

พระราชรัตนมงคล. (2562). พระพุทธศาสนากับสังคมไทย. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 2(2), 18-24.

วิชญาภา เมธีวรฉัตร. (2561). พุทธวิธีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 2(2), 38-46.

ศูนย์ข้อมูลกลางด้านศาสนา. (2564). กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ข้อมูลกลาง

ด้านศาสนา.

สุพรรณี รัตนานนท์. (2565). ตำราการจัดการทรัพยากรมนุษย์. ค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2567, จาก https://digital_collect.lib.buu.ac.th/librarychanthaburi/fulltext/Supunnee.pdf

สุวรรณ แก้วนะ. (2564). การนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร.วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(1), 290-299.

Armstrong, M. (2012). Armstrong’s handbook of human resource management practices (12th ed.). London: Kogan Page.

Bradley, W. H. (2008). The New Human Capital Strategy: Improving the Value of Your Most Important Investment--Year After Year. Human capital strategy. USA: Amazon.

Creswell, J. W. (2009). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approaches. (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage Publications, Inc.

Mondy, R. Wayne. (2010). Human resource management. (12th ed.). Upper Saddle River, N.J.: Pearson Prentice Hall.

Raymond, A. N. (2021). Human resource management.(12th ed.). New York: Mc Graw Hill Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

บรรเจิดฤทธิ์ ส. . (2025). พระพุทธศาสนากับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทย. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 15(1), 87–102. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/276148