การเมืองในการกำหนดนโยบายทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2561

ผู้แต่ง

  • ภูวฤณ ภูริธรจินดา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ณัฐพงศ์ บุญเหลือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • นิพนธ์ โซะเฮง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การเมืองในการกำหนดนโยบาย, สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาที่มาและการเข้าสู่วาระการตัดสินใจของนโยบายทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2561; 2) เพื่อศึกษาการเมืองในการกำหนดนโยบายทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2561 และการจัดตั้งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำภายใต้การดำเนินการของ สทนช. ช่วง พ.ศ. 2561-2566 และข้อเสนอแนะ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง จำนวน 14 คน ใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การก่อเกิดสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่มาหลักคือไม่มีหน่วยงานที่มาดูแลภาพรวมในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำโดยเฉพาะการแก้ปัญหาอุทกภัย พ.ศ.2554 การขับเคลื่อนงานการบริหารจัดการน้ำอาศัย 3 แกนหลัก คือ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2561; 2) พบว่า (1) นโยบายทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และการจัดตั้งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เกิดขึ้นในสมัยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยตั้งใจผลักดันให้เกิดหน่วยงานบริหารจัดการน้ำ และอำนาจในการพิจารณาสั่งการอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2561 (2) อิทธิพลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มาจากความต้องการให้มีหน่วยงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติในรูปแบบกระทรวงหรือหน่วยงานที่อยู่ภายใต้สังกัดของสำนักนายก ซึ่งมีผลต่อการปฏิบัติงานของระบบราชการที่มีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางการเมือง และ 3) ปัญหา พบว่า (1) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติไม่เห็นแผนงานทั้งหมดของทุกหน่วยงานในเรื่องน้ำ มีการทำงานแบบทับซ้อนแผนงาน ทำให้ไม่สามารถบูรณาการงานในฐานะผู้กำหนดนโยบาย และหรือในฐานะผู้นำนโยบายไปปฏิบัติได้ (2) ปัญหาเชิงโครงสร้างในการบูรณาการข้อมูล มีการแบ่งแยกการจัดการทรัพยากรน้ำตามแหล่งน้ำซึ่งยังขัดกับความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงของทรัพยากรน้ำพื้นฐาน โดยยึดหลักกฎหมายเฉพาะของตนเองเป็นหลัก (3) การสื่อสารทำความเข้าใจทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน  และข้อเสนอแนะ พบว่า (1) การนำนโยบายทรัพยากรน้ำไปปฏิบัติในกรณีลุ่มน้ำเป็นหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด และเร่งผลักดันให้เกิด พระราชบัญญัติน้ำแห่งชาติ (2) การพัฒนาองค์กรทรัพยากรน้ำแห่งชาติและคณะกรรมการลุ่มน้ำในการกำหนดนโยบาย จัดทำนโยบายเพื่อลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มความต่อเนื่องในการพัฒนาและบริหารงาน (3) กรรมการลุ่มน้ำ องค์กรผู้ใช้น้ำ หน่วยงานในระบบราชการสมควรตระหนักและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและ (4) การใช้นวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพ ต่อยอดการจัดการน้ำรับมืออนาคต

References

กรมทรัพยาการน้ำ. (2567). นโยบายการกำกับดูแลอง์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ดี. ค้นเมื่อ 24 มกราคม 2567, จาก https://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER18/DRAWER056/GENERAL/ DATA0000/00000998.PDF

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2565). ข้อมูลจาการรายงานของจังหวัด ผ่านระบบข้อมูลสาธารณภัย. ค้นเมื่อ 24 มกราคม 2567, จากhttps://datacenter.disaster.go.th/datacenter/cms/2732?id=42514

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม. (2564). ต้นธารงานส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. ค้นเมื่อ 24 มกราคม 2567, จาก https://www.dcce.go.th/?page_id=2602

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม. (2567). สรุปรายงานความเสี่ยงระดับโลก 2024 (Global Risk Report 2024). ค้นเมื่อ 24 มกราคม 2567, จาก https://www.dcce.go.th/news/ view.aspx?p=17687

ชัยยุทธ ชินณะราศี และคณะ. (2557). รายงานวิจัยการกำหนดทิศทางของนโยบายและแผนหลักการบริหารจัดการน้ำระดับประเทศและการวิจัยเพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติ. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยวิศวกรรมและการจัดการน้ำ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561. ค้นเมื่อ 24 มกราคม 2567, จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ. ค้นเมื่อ 24 มกราคม 2567, จาก http://www.onwr.go.th/?page_id=4207

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA), (2564). ข้อมูลจากดาวเทียมและเซ็นเซอร์ภาคพื้นดิน. ค้นเมื่อ 24 มกราคม 2567, จาก https://www.gistda.or.th/ news_view.php?n_id=1796&lang=TH

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2560). ความเป็นมาของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. ค้นเมื่อ 24 มกราคม 2567, จาก http://www.onwr.go.th/?page_id=3992

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2565). ยุทธศาสตร์สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570). ค้นเมื่อ 24 มกราคม 2567, http://www.onwr.go.th/wp-content/uploads/2023/01/ยุทธศาสตร์-สทนช.-พ.ศ.-2566-2570.pdf

สัญญา เคณาภูมิ. (2559). การกำหนดนโยบายสาธารณะ: ทฤษฎีและกระบวนการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), 101-125.

Almond, G. A., et al. (2009). Comparative politics today: A world view (9th ed.). Boston, MA: Longman.

Anderson, J. E. (2003). Public Policy Making: An Introduction (pp. 1-34). Boston: Houghton, Mifflin Company.

Bardach, E. S. (2011). A practical guide for policy analysis: The eightfold path to more effective problem solving. (4th ed.). California: CQ Press.

Dye, T. R. (2001). Understanding public policy (10th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Hill, M., & Hupe, P. (2002). Implementing public policy: Governance in theory and in practice (1st ed.). London: Sage Publications, Inc.

Kingdon, J. W. (1995). Agendas, Alternatives, and Public Policies. (2nd Ed.). Longman, MI: The University of Michigan.

Mollinga, P. P., Meinzen-Dick, R. S. & Merre, D. J. (2007). Politics, Plurality and Problemsheds: A Strategic Approach for Reform of Agricultural Water Resources Management. Development Policy Review, 25(6), 699-719.

ZAKI, M., AMIN, M. (2022). Water Management Tranformation in Malaysia. Deputy Director General, National Water Research Institute of Malaysia (NAHRIM), Ministry of Environment and Water (KASA).

Seungho, L. (2022). Water Policy Reform in South Korea, GSIS, Korea University, Water Administrative Structure Reform & Development Seminar, Chulalongkorn University, Thailand 28 April 2022.

Truman, D. B. (1981). The governmental process: Political interests and public opinion. Praeger.

Van Horn, C. E., & Van Meter, D. S. (1976). The implementation of intergovernmental policy. In C. O. Jones & R. D. Thomas (Eds.), Public policy making in a federal system. London: Sage Publications, Inc.

Wolsink, M. (2006). River basin approach and integrated water management: Governance pitfalls for the Dutch Space-Water-Adjustment Management Principle. Geoforum, 37(4), 473-487.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30