บทบาทการเป็นผู้นำทางการเมืองของวันมูหะมัดนอร์ มะทา ในการเมืองไทย

ผู้แต่ง

  • ต่วนอิสกันดาร์ ดาโต๊ะมูลียอ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

วันมูหะมัดนอร์ มะทา, นักการเมือง, นักการเมืองไทยมุสลิม, ผู้นำทางการเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องบทบาทการเป็นผู้นำทางการเมืองของวันมูหะมัดนอร์ มะทาในการเมืองไทยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาภูมิหลังและชีวประวัติของวันมูหะมัดนอร์ มะทา 2. เพื่อศึกษาบทบาททางการเมืองของวันมูหะมัดนอร์ มะทา และ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมบทบาททางการเมืองและความเป็นผู้นำตลอดจนการผลักดันนโยบายสาธารณะที่สำคัญในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของวันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ทฤษฎี แนวคิด ที่เกี่ยวข้องดังนี้ แนวคิดเกี่ยวกับชีวประวัติ การกล่อมเกลาทางการเมือง แนวคิดเกี่ยวกับบทบาท แนวคิดเกี่ยวกับการขัดเกลาทางสังคม แนวคิดว่าด้วยผู้นำทางการเมือง แนวคิดผู้นำทางการเมืองในอิสลาม แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะในหลักการศาสนาอิสลาม

ผลการวิจัยพบว่าวันมูหะมัดนอร์ มะทา เกิดในตระกูลชนชั้นนำทางศาสนาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นชนส่วนใหญ่ ได้รับการศึกษาที่ดีจากสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ความเป็นผู้นำทางการเมืองของวันมูหะมัดนอร์ มะทา มีปัจจัยสำคัญมาจากการยึดมั่นในหลักการศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด การได้รับความไว้วางใจอย่างสูงจากผู้นำทางการเมืองร่วมสมัย การได้รับการเกื้อหนุนและสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากประชาชน อันสะท้อนถึงบทบาทการเป็นผู้นำทางการเมืองของวันมูหะมัดนอร์ มะทามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อสังคมมุสลิมและสังคมไทย เพราะสังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตยที่ยึดโยงกับอำนาจประชาชน

References

พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี. (2500, 24 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 74 ตอนที่ 80,หน้า 1376-1379.

พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี. (2513). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 93 ตอนที่ 119, หน้า 4.

พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี. (2513). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 93 ตอนที่ 119, หน้า 5.

พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี. (2533). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 107 ตอนที่ 250, หน้า 5.

พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี. (2535). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอนที่ 103, หน้า 2.

พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี. (2540). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 ตอนพิเศษ 107 ง, หน้า 1.

พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี. (2549). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 123 ตอนที่ 106, หน้า 2.

พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี. (2550). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนพิเศษที่ 101 ง, หน้า 135.

พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษที่ 176 ง, หน้า 2.

พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี. (2566). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 140 ตอนพิเศษ 161 ง, หน้า 1.

ยศ สันตสมบัติ. (2533). อำนาจ บุคลิกภาพและผู้นำทางการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: ไทยคดีศึกษา.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2528). การเมืองมนุษย์: รัฐศาสตร์สวนกระแส. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

สมศรี สุกุมลนันท์. (2541). สารคดีชีวประวัติสมศรี สุกุมลนันท์. พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพฯ: สารคดี.

สมใจ ลักษณะ. (2542). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน . กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

สมคิด เพ็งอุดม. (2535). การศึกษาบทบาทพระสงฆ์ที่มีต่อการพัฒนาชุมชนตามทัศนะของพระสงฆ์และเจ้าหน้าที่กระทรวงระดับตำบลในจังหวัดสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Baru, W. (2023, November 16). Personal communication. Personal interview.

Chapakia, I. (2023, October 17). Personal communication. Personal interview.

Daudmareyo, T. (2024, March 24). Personal communication. Personal interview.

Leewamoh, K. (2023, November 16). Personal communication. Personal interview.

Pakeerut, W. (1999). kho ̅khwa ̅m khit phu ̅ntha ̅n ki ̅eokap sanya ̅ tha ̅ng pokkhro ̅ng nai rabop kotma ̅i Yoe ̅raman. Nitisat Journal, 29(2), 267-276.

Tead, O. (1935). The art of leadership. (7th ed.). New York: McGraw-Hill.

Uma, N. (2023, September 23). Personal communication. Personal interview.

Yaworhasan, K. (2023, August 9). Personal communication. Personal interview.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-29