ไลฟ์สไตล์และการตัดสินใจเลือกซื้อกีตาร์ไฟฟ้าของ Generation Y
คำสำคัญ:
ไลฟ์สไตล์, คนรุ่นวัยสร้างสรรค์, กีตาร์ไฟฟ้าบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ไลฟ์สไตล์ มุมมอง และการเล่นกีตาร์ของ Generation Y และ 2) ส่วนประสมทางการตลาด (4P) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้าของ Generation Y โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่ม Generation Y จำนวน 12 ท่าน ที่มีการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้า และกลุ่มผู้ประกอบการ จำนวน 2 ท่าน ที่สามารถให้ข้อมูลตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้อย่างเจาะลึก ใช้การเลือกแบบเจาะจง เป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่ม Generation Y ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในชีวิต มี Passion ในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันไป ใช้เวลาว่างจากการทำงาน ดูหนัง ฟังเพลง เดินห้างสรรพสินค้า เล่นดนตรี โดยเล่นกีตาร์มาแล้วไม่ต่ำกว่า 9 ปี รู้สึกดีเวลาเล่นกีตาร์ ซื้อกีตาร์เพื่อเล่นวงหรือเพื่อผ่อนคลาย มีรสนิยมในการฟังเพลงในหลาย ๆ แนว รวมถึงมีศิลปินที่ชื่นชอบเป็นไอดอล และ 2) ส่วนประสมการตลาด 4P พบว่า ทุกด้านมีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้า โดยมีผลมากน้อยขึ้นอยู่กับทัศนคติของแต่ละคน ทั้งนี้ในด้านช่องทางจัดจำหน่าย (Place) ราคา (Price) ความคุ้มค่า และด้านผลิตภัณฑ์ (Product) คือ แบรนด์ ความเชื่อมั่นในแบรนด์
มีผลมากที่สุด ส่วนศิลปิน กีตาร์ฮีโร่ และแนวเพลง ล้วนมีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้า ในส่วนของผู้ประกอบการเห็นว่าตลาดกีตาร์ยังคงมีผู้เล่นและยอดขายเพิ่มขึ้น ในกลุ่ม Generation อื่น ๆ แต่กลุ่ม Generation Y อาจจะทรงตัว การเข้ามาของสื่อต่าง ๆ ดนตรีกระแสต่าง ๆ มีผลต่อยอดผู้เล่น และยอดขายบ้าง โดยการเล่นดนตรีเป็นสิ่งที่ดี เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งการเล่นกีตาร์ไฟฟ้าไม่มีทางลัด
ต้องหมั่นฝึกฝน แล้วจะหลงใหลในกีตาร์ไฟฟ้า
References
ก่อฤกษ์ ละอองกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อหูฟังของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพแลปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จำเนียร จวงตระกูล และคณะ (2564). ทางเลือกใหม่ในการสร้างแนวการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 8(2), 1-16.
เจ้าของร้าน. (2021). กีตาร์มีกี่ประเภท. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2567,จาก https://www.musicsupport.shop/ article/108/กีตาร์มีกี่ประเภท-2
ชานนท์ ศิริธร. (2016). พฤติกรรมการบริโภคสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวาย. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 3(1), 77-104.
ณฐพงศ์ ผาสุข และวีรศักดิ์ ประเสริฐชูวงศ์. (2565). ปัจจัยส่วนประสมการตลาด และกลุ่มอ้างอิงที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกีตาร์ไฟฟ้า แบรนด์เฟนเดอร์ของลูกค้าชาวไทย. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 2(2), 46-56.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 31-48.
พระนิทัศน์ วงศ์วังเพิ่ม. (2563). การวิจัยเชิงคุณภาพเบื้องต้น. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 5(2), 12-17.
พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร. (2559). การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ส.เอเชียเพรส.
วรรณวิชนี ถนอมชาติ, อุทัย อันพิมพ์ และจำเนียร จวงตระกูล. (2563). การนำเสนอผลการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(4), 1- 13.
วัชรินทร์ อินทพรหม. (2562). ขนาดตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารวิจัยพระราชภัฎพระนคร, 14(1), 12-17.
วัชรินทร์ อินทพรหม. (2562). การวิเคราะห์และการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 10(2), 314-333.
วัชริศ หาญสุทธิวงศ์. (2560). กระบวนการตัดสินใจซื้อกีตาร์ของประชาชนในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อัครพงศ์ อัครพราหมณ์. (2560). การศึกษาส่วนประสมการตลาดเพื่อกิจการค้าฮาร์ปแก่ลูกค้าชาวไทย. การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับ บัณฑิตศึกษาครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2560.
Majoinen, A. (2022). Electric Guitar Markets in the UK: Case Company Flaxwood Guitars (Thesis Degree Programme in International Business). Karelia University of Applied Sciences International Business BBA.
Blackwell, R. D., Miniard, P. W., & Engel, J. F. (2006). Consumer behavior. Mason (Ohio): Thomson/South-Western.
Oe, H., & Yamaoka, Y. (2023). Exploring Socioeconomic Factors for the Sustainability of Electric Guitar Brands: Focusing on Traditional Values and Psychological Attachment. SocioEconomic Challenges, 7(4), 40-57.
Tangsiri. (2023). Fender ชี้ ปี 2030 APAC ขึ้นแท่นตลาดดนตรีเบอร์ 1 โลกเร่งลงทุนเพิ่ม เกาะกระแสกีตาร์โตช่วงโควิด. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2567, จาก https://brandinside.asia/fender-apac-growth/
Thai PBS. (2561). ธุรกิจ “กีต้าร์” ทรงตัว คาดอีก 20 ปีคนเล่นลดฮวบตามอเมริกา. ค้นเมื่อ 18 มกราคม2567, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/273560
TopTen. (2020). ดนตรีเยียวยาทุกสิ่ง! ยอดขายกีตาร์ ‘Fender’ พุ่งกระฉูดหลังคนหาอะไรทำช่วง COVID-19. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2567, จาก https://positioningmag.com/1307075
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว