บุพปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในกลุ่มภาคกลางตอนล่าง 2

ผู้แต่ง

  • กชนิภา อินทสุวรรณ์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • สุพัตรา ปราณี วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

คุณภาพการบริการ, ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว, นวัตกรรมการบริการ, ความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจของนักท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้สำคัญสำหรับเศรษฐกิจท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของตัวแปรคุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว นวัตกรรมการบริการ ความตั้งใจในการท่องเที่ยว และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว และความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 2) อิทธิพลของตัวแปรคุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว นวัตกรรมการบริการ ความตั้งใจในการท่องเที่ยว และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 3) สร้างแบบจำลองความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เคยมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในจังหวัดกลุ่มภาคกลางตอนล่าง 2 จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว นวัตกรรมการบริการ ความตั้งใจในการท่องเที่ยว และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว และความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อยู่ในระดับมาก 2) คุณภาพการบริการ นวัตกรรมการบริการ และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ นอกจากนี้ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว ส่งผลทางอ้อมเชิงบวกต่อความภักดีของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ผ่านความตั้งใจในการท่องเที่ยว และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แบบจำลองที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “STSITL Model” โดยคุณภาพการบริการที่สูงช่วยสร้างความพึงพอใจและความตั้งใจในการท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ที่ดีและนวัตกรรมในการบริการช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำและสร้างความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวมีความภักดีและมีแนวโน้มที่จะกลับมาใช้บริการซ้ำและแนะนำให้กับผู้อื่น ส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวมีฐานลูกค้าที่มั่นคงและยั่งยืน

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). COVID-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). สถานการณ์การท่องเที่ยว เดือนมกราคม 2565. กรุงเทพฯ: กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา.

Abdulllah, M. (2020). Service quality and customer satisfaction as antecedents of financial sustainability of the water service providers. The TQM Journal, 33(8), 1867-1885.

Diamantopoulos, A. & Siguaw, A. D. (2000). Introducing LISREL: A guide for the uninitiated. London: Sage Publications.

Ghoitsa, R. N., & Marhanah, S. (2020). Influence of Destination Image and Travel Experience Towards Revisit Intention in Yogyakarta as Tourist Destination. Journal of Indonesian Tourism Hospitality and Recreation, 3(1), 28-39.

Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1996). LISREL 8: User's reference guide. Mooresville: Scientific Software International.

Kim, S., et al. (2019). PubChem 2019 update: improved access to chemical data. Nucleic acids research, 47(D1), D1102-D1109.

Lee, G., et al. (2019). PyWavelets: A Python package for wavelet analysis. Journal of Open Source Software, 4(36), 1237.

Mai, E., & Afnan, A. (2019). The impact of service quality on sustainable competitive advantage: Study on Jordanian health insurance companies. International Journal of Business Excellence,16(2), 162-175.

Marshall, M. N. (1996). Sampling for qualitative research. Family practice, 13(6), 522-526.

Olsson, L., & Jerneck, A. (2018). Social fields and natural systems. Ecology and Society, 23(3), 62.

Pereira, L. S., et al. (2021). Standard single and basal crop coefficients for field crops. Updates and advances to the FAO56 crop water requirements method. Agricultural Water Management, 243, 106466.

Pratminingsih, S. A., Astuty, E. & Mardiansyah, V. (2019). The influence of electronic word of mouth and brand image on buying decision. Journal of Advanced Research in Dynamical and Control Systems, 11, 995–1002.

Raja, E. A. L., Maharani, M. & Raja, J. G. L. (2023). The Effect of Product Quality and Service Quality on Customer Satisfaction. Riwayat: Educational Journal of History and Humanities, 6(2), 494-499.

Wu, C., et al. (2020). Risk factors associated with acute respiratory distress syndrome and death in patients with coronavirus disease 2019 pneumonia in Wuhan, China. JAMA internal medicine, 180(7), 934-943.

Yoon, S. H., et al. (2020). Chest radiographic and CT findings of the 2019 novel coronavirus disease (COVID-19): analysis of nine patients treated in Korea. Korean journal of radiology, 21(4), 494.

Zhang, C., et al. (2021). Understanding deep learning (still) requires rethinking generalization. Communications of the ACM, 64(3), 107-115.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-29