การพัฒนานวัตกรชุมชนสร้างสรรค์แบบครบวงจร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านลิพอนใต้ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
คำสำคัญ:
การพัฒนา, นวัตกร, ชุมชนสร้างสรรค์, เศรษฐกิจฐานราก, ชุมชนเข้มแข็งบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนานวัตกรชุมชนสร้างสรรค์แบบครบวงจร และ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนานวัตกรชุมชนสร้างสรรค์แบบครบวงจร รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้แนวคิดการวิจัยประเมินความต้องการจำเป็นเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ ชุมชนบ้านลิพอนใต้ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ ประชาชน จำนวน 375 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบชั้นภูมิ ผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ จำนวน 12 คน และสนทนากลุ่ม 2 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น (PNI modified) ในกรณีการวิจัยเชิงปริมาณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ทำการตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เพศหญิง การศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ต่ำกว่า ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีค่า PNI modified เท่ากับ 0.45 มากที่สุด คือ ด้านทักษะสำคัญพื้นฐาน รองลงมาคือ ด้านคุณสมบัติส่วนบุคคล และน้อยที่สุด คือ ด้านบทบาทในสังคม และมีค่า PNI modified ≥ 0.50 จำนวน 4 รายการ ได้แก่ ทักษะการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ ทักษะการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรม ทักษะการใช้ภาษา และทักษะการจัดการด้านการเงิน 2) แนวทางการพัฒนานวัตกรชุมชนสร้างสรรค์แบบครบวงจรให้เทศบาลตำบลศรีสุนทรและชุมชนบ้านลิพอนใต้เป็นเจ้าภาพหลักในการพัฒนานวัตกรชุมชนสร้างสรรค์แบบครบวงจร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนบ้านลิพอนใต้ให้เข้มแข็ง ดังนี้ 1) ควรมีการประชุมภายในชุมชน ในการคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ คุณสมบัติเพียงพอที่จะเป็นนวัตกร 2) สอบถามความสมัครใจของผู้ถูกคัดเลือก เมื่อได้แล้วก็หาผู้ฝึกสอน พัฒนานวัตกรชุมชน 3) เรียนรู้และฝึกฝนในประเด็นที่มีความต้องการจำเป็นที่สำคัญ ได้แก่ การนำเสนอการพูดในที่สาธารณะ กล้าแสดงออกให้สามารถถ่ายทอดได้ 4) พัฒนาบุคลากรในศูนย์ในด้านการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานการท่องเที่ยว องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนานวัตกรชุมชนสร้างสรรค์แบบครบวงจร บนพื้นฐานการบูรณาการความร่วมมือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันทางการศึกษาต่าง ๆ
References
กอบกุลณ์ คำปลอด และทศพล พงษ์ด๊ะ. (2565). การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนเพื่อสร้างนวัตกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในอำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 15(1), 1-16.
จามรี พระสุนิล. (2563). การส่งเสริมนวัตกรชาวบ้านของชุมชนบ้านปางสา ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยสังคม, 43(2), 181-218.
ญาณิศา เผื่อนเพาะ และประสพชัย พสุนนท์. (2564). นวัตกรรมชุมชนเชื่อมโยงเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 8(2), 32-44.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสติถิด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธีรทัศน์ โรจน์กิจจากุล, พระครูเมธีรัตนบัณฑิต และธัชพล ยรรยงค์. (2567). การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยชุมชนต้นแบบของจังหวัดน่าน. Journal of Modern Learning Development, 9(10), 335-350.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ:
ศรีอนันต์การพิมพ์.
ภานนท์ คุ้มสุภา. (2562). นวัตกรท้องถิ่นรุ่นใหม่กับการแพร่กระจายนวัตกรรมสู่ชุมชน. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 13(2), 258-299.
วลัยลักษณ์ รัตนวงศ์. (2562). นวัตกรพลิกโลก. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 17(1), 103-108.
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2561. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 59ก. หน้า 27.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2552). การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สำนักงานจังหวัดภูเก็ต. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต (ปี พ.ศ.2566-2570). ภูเก็ต: สำนักงานจังหวัดภูเก็ต.
สำนักงานแรงงานจังหวัดภูเก็ต. (2566). รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดภูเก็ต ปี 2566 (มกราคม-ธันวาคม). ภูเก็ต: สำนักงานแรงงานจังหวัดภูเก็ต.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). มาฝึกทักษะ 5I เพื่อเป็นนวัตกรในศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.nia.or.th/5I
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต. (2560). รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน ปี 2560 บ้านลิพอนใต้ หมู่ที่ 5 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. ภูเก็ต: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดภูเก็ต.
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดภูเก็ต. (2566). สรุปภาวะเศรษฐกิจการค้าจังหวัดภูเก็ต ปี 2566. ภูเก็ต: สำนักงานพาณิชย์จังหวัดภูเก็ต.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ภาวะสังคมไทยไตรมาสสามปี 2563. รายงานภาวะสังคมไทย, 18(4), 3-8.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวม
ปี 2564. รายงานภาวะสังคมไทย, 20(1), 2-3.
สุชาติ ไตรภพสกุล และสหัทยา ชูชาติพงษ์. (2557). แบบจำลองการพัฒนาสังคมความเป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรมในประเทศไทย. วารสารนักบริหาร, 34(2), 26-36.
สุภางค์ จันทวานิช. (2559). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ติรกานันท์. (2546). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อำพร ผสมทรัพย์. ประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านลิพอนใต้. (16 พฤศจิกายน 2563). สัมภาษณ์.
Coakes, E. & Smith, P. (2007). Developing communities of innovation by identifying innovation champions. The learning organization, 14(1), 74-85.
Lim, M. & Yong Ong, B. (2019). Communities of innovation. International Journal of Innovation Science, 11(3), 402-418.
Noailles-Siméon, P. (2013). Innovator. George Washington University, WA: Springer.
OECD. (2021). Social innovation. Retrieved May 12, 2022, from https://www.oecd.org/regional/ leed/social-innovation.htm
United Nations. (2017). Technology and innovation with a focus on the 2030 development agenda, Community-based innovation for improved social well-being. Beirut: United Nations.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว