นโยบายการจัดระเบียบชุมชนริมคลองเปรมประชากรและคลองลาดพร้าวโดยการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance)
คำสำคัญ:
นโยบาย, การจัดระเบียบ, การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) นโยบายภาครัฐต่อกลไกการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือ (Collaborative Governance) ภายใต้นโยบายการจัดระเบียบชุมชนบ้านมั่นคงริมคลองเปรมประชากรและคลองลาดพร้าว 2) บทบาทตัวแสดงของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมต่อนโยบายการจัดระเบียบชุมชนบ้านมั่นคงริมคลองเปรมประชากรและคลองลาดพร้าว และ 3) ปัญหา อุปสรรคและโอกาส ของนโยบายการจัดระเบียบชุมชนบ้านมั่นคงริมคลองเปรมประชากรและคลองลาดพร้าว โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารสำคัญและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการนำเอาข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าวิจัย มาจัดทำให้เป็นระบบและหาความหมาย แยกแยะองค์ประกอบ รวมทั้งการเชื่อมโยงและหาความสัมพันธ์ของข้อมูลเพื่อที่จะนำไปสู่การตีความ (Interpretation) เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายการจัดระเบียบชุมชน (1) บริบทสภาพปัญหาในกรุงเทพ รัฐบาลมีแผนงานการแก้ไขสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำคลองในกรุงเทพฯ ได้จัดตั้ง ‘คณะกรรมการบริหารจัดการสิ่งก่อสร้างรุกล้ำลำน้ำสาธารณะขึ้นเพื่อแก้ปัญหา (2) นโยบายการจัดระเบียบชุมชน มีแผนและยุทธศาสตร์ที่ เกี่ยวข้องกับนโยบายหลายแผนเป็นมาตรการในการบริหารจัดการ (3) โครงการบ้านมั่นคงมีการรวมกลุ่มในการบริหารจัดการงบประมาณในโครงการบ้านเพื่อพัฒนาให้เป็นที่อยู่อาศัยที่ดีมากขึ้น (4) การบริหารจัดการนโยบายการจัดระเบียบชุมชนริมคลอง 2) บทบาทตัวแสดง (1) บทบาทของภาครัฐในการขับเคลื่อนนโยบายการจัดระเบียบชุมชนทุกหน่วยงานมีบทบาทเฉพาะของตนเองภายใต้นโยบายที่กำหนดไว้ (2) บทบาทของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนนโยบายการจัดระเบียบชุมชนมีการดึงเอาภาคเอกชนเข้ามาร่วมรับผิดชอบหรือส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือจากภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนโครงการชุมชนในทางที่เหมาะสม (3) บทบาทของภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนนโยบายการจัดระเบียบชุมชนความเชื่อมโยงที่แข็งแกร่งระหว่างสมาชิกในชุมชน ที่สำคัญคือการสร้างความเป็นระเบียบและมีการจัดการที่มีวิธีการเดียวกันสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมความเข้าใจและความยอมรับของสมาชิกในชุมชนให้ดีขึ้น (4) อิทธิพลทางการเมืองต่อการขับเคลื่อนนโยบายการจัดระเบียบชุมชนมีการเข้าหาประชาชนและร่วมเข้ามาในชุมชน เพื่อยื่นข้อเสนอและต่อต้านโครงการบ้านมั่นคง ซึ่งเป็นการมีเสียงส่วนรวมในการสนับสนุนความต้องการของชุมชน และ 3) (1) ปัญหา อุปสรรคและโอกาสของนโยบายมีการแก้ปัญหาจากรัฐ เอกชน ประชาชน (2) ปัญหาด้านการสื่อสารในการดำเนินโยบายการจัดระเบียบชุมชนการสร้างความร่วมมือและกระบวนการมีส่วนร่วม ควรมีการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง (3) ปัญหาด้านสภาพสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและสังคมในชุมชนมีการพัฒนามากขึ้น (4) ความร่วมมือและช่วยเหลือในการดำเนินโยบายการจัดระเบียบชุมชนได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหา
References
กาญจนาพร สายกองคำ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงทางนโยบายในเครือข่ายคณะทำงานโครงการบ้านพอเพียงชนบท กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). รายงานสรุปการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล. ค้นเมื่อ 27 มกราคม 2567, จาก https://www.m-society.go.t/ewtadmin/ewt/mso_web/download/article/article_20160804160335.pdf
รัชนีวรรณ มาแก้ว. (2562). กระบวนการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความยากจนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านดอยแดน หมู่ 4 ตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัชรพล สุขสำราญ (2564). การประเมินโครงการสานพลังประชารัฐ-การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ: กรณีศึกษาชุมชนบึงบางซื่อ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิชญ์วิสิฐ พรหมดา, ธีราพร ทองปัญญา,ชลิตา บัณฑุวงศ์. (2563). ผลกระทบจากการพัฒนาที่อยู่อาศัยจากชุมชนริมคลองกรณีศึกษา: ชุมชนริมคลองฝั่งถนนตะวันตก กรุงเทพตะวันตก. วารสารรามคำแหงฉบับมนุษยศาสตร์, 39(1), 73-88.
ศศิธร ทองจันทร์. (2559). การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันกับการขับเคลื่อนนโยบาย ภาครัฐไทย กรณีศึกษาโครงการความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดพิษณุโลก (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันพัฒนาชุมชน. (2559). รายงานประจำปี 2559. ค้นเมื่อ 27 มกราคม 2567, จาก https://web.codi.or.th/development_project/20190321-126/
สัญญา เคณาภูมิ และ บุรฉัตร จันทร์แดง. (2562). ตัวแบบทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 3(1), 95-115.
สำนักงานบริหารที่ราชพัสดุกรุงเทพมหานคร กรมธนารักษ์. (2559). โครงการพัฒนาชุมชนริมคลองเพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการรุกล้ำคูคลอง. ค้นเมื่อ 27 มกราคม 2567, จาก https://bangkok.treasury.go.th/th/download.php?ref=nJE4LKOioJk3oxk3oJ9aMUEsnJI4oUOcoJM3pHkSoJIaoUEvnJS4qUOsoFM3A0j3oKSaEKExnJy4KjoSo3QoSo3Q
สำนักพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2564). คู่มือการบริหารโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลอง ปี 2564. ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2566, จาก https://web.codi.or.th/printing_media /20210831-26900/
อิทธิชัย สีดำ. (2564). การบริหารงานภาครัฐในรูปแบบเครือข่ายกับการนำมาใช้ในประเทศไทย. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 9(3), 95-106.
AEC10NEWS.COM. (2564). ธนารักษ์แจงปมบ้านมั่นคง ชี้!ทำเพื่อทุกฝ่าย. ค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2566, จาก https://aec10news.com/contents/news/national/107274/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว