การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการเปิดโรงเรียนเรียนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางรัก

Authors

  • ธัญญ์ฐิตา ญาณวิริยะวงษ์
  • ธีรภัทร กุโลภาส, ดร.

Keywords:

การศึกษาพิเศษ, นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ, โรงเรียนเรียนร่วม, SPECIAL EDUCATION, STUDENTS WITH SPECIAL NEEDS, MAINSTREAMING SCHOOL

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการเปิดโรงเรียนเรียนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางรัก ใช้กรอบแนวคิดการบริหารจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework) กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยคือคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางรัก จำนวน 65 คน ผลการวิจัยพบว่า จากการบริหารจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework) 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความพร้อมของนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก โดยทุกด้านมีการปฏิบัติระดับปานกลาง ด้านความพร้อมของนักเรียนเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับความต้องการจำเป็นในการเปิดโรงเรียนเรียนร่วมทุกด้านมีปัญหาในระดับมาก โดยด้านสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกเป็นด้านที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสภาพแวดล้อม และด้านความพร้อมของนักเรียน 

 

The purpose of this research was to study the current condition, desirable conditions and needs to establish an inclusive school in Bangrak district in Bangkok by using the Student Environment Activity Tool Framework (SEAT Framework). The sample of the respondents consisted of a primary school committee of the school belong to the office of Bangrak district, with a total of 65 people. The research found that the SEAT Framework has four elements: student readiness, environment, teaching activities and media facilities. The school personnel practice in four area are average, which student readiness is the most significantly concerned, followed by the environment, teaching activities and media facilities respectively. For the requirement for opening co-educational schools, all elements of the problems were at a high level, with the media facilities being the most demanding areas, followed by teaching activities, environment and the readiness of students respectively.

Author Biographies

ธัญญ์ฐิตา ญาณวิริยะวงษ์

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธีรภัทร กุโลภาส, ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2018-01-30

How to Cite

ญาณวิริยะวงษ์ ธ., & กุโลภาส ธ. (2018). การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการเปิดโรงเรียนเรียนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางรัก. An Online Journal of Education, 12(3), 1–16. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/110577