ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมองอาชีพครูในแง่ดีของนักศึกษาวิชาชีพครู : การวิจัยแบบผสมวิธี
Keywords:
การมองอาชีพครูในแง่ดี, นักศึกษาวิชาชีพครู, TEACHING CAREER OPTIMISM, STUDENT TEACHERSAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมองอาชีพครูในแง่ดีของนักศึกษาวิชาชีพครู และวิเคราะห์สาเหตุของการมองอาชีพครูในแง่ดีที่แตกต่างกันของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธี แบบเชิงอธิบายเป็นลำดับ (Explanatory Sequential Design) เริ่มจากการศึกษาเชิงปริมาณ ตัวอย่างวิจัย คือ นักศึกษาวิชาชีพครู ระดับปริญญาบัณฑิต ชั้นปีที่ 5 ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัย เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 506 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และใช้สถิติอนุมานในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีระดับการมองอาชีพครูในแง่ดีกลุ่มสูงและต่ำ โดยใช้การทดสอบที (t-test) นำไปสู่การศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์นักศึกษาวิชาชีพครูที่มีระดับการมองอาชีพครูใน แง่ดีกลุ่มสูงและต่ำ จำนวนกลุ่มละ 20 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีการมองอาชีพครูในแง่ดีระดับมาก และเมื่อพิจารณาผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการมองอาชีพครูในแง่ดีของนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการวิเคราะห์สาเหตุของการมองอาชีพครูในแง่ดีจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบ่งออกเป็น สาเหตุที่ทำให้นักศึกษามีการมองอาชีพครูในแง่ดีระดับสูง ประกอบด้วย 8 ประเด็น ได้แก่ ความประทับใจระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การได้รับการถ่ายทอดกระบวนการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการประกอบอาชีพครู การมีลักษณะนิสัยที่เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพครู การรับรู้ความสามารถในตนเอง การได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง การได้รับการสนับสนุนจากครูอาจารย์ ความประทับใจครูอาจารย์ที่เป็นต้นแบบ และความรู้สึกมั่นคงในการดำเนินชีวิต และสาเหตุที่ทำให้นักศึกษามีการมองอาชีพครูในแง่ดีระดับต่ำ ประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ การประสบปัญหาระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การรับรู้ถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ส่งเสริมการประกอบอาชีพครู การรับรู้ถึงผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่ากับภาระงานในการประกอบอาชีพครู อาจารย์ไม่ดูแลเอาใจใส่นักศึกษา และพฤติกรรมของอาจารย์ที่ไม่เป็นแบบอย่างที่ดี
The objective of this research was to study level of student teachers’ optimism on a teaching career and to analyze reasons behind different levels of optimism by using a mixed-methods research. The structure of research was Explanatory Sequential Design started from quantitative study of 506 obtained by Stratified Random Sampling of 5th year undergraduate student teachers who came from university within and around city area as the subjects. Descriptive Statistic, were used to analyze the data coming from questionnaires. The 20 individuals of each extreme career optimism group were selected where they did a t-test. Then, a qualitative study was analyzed through content analysis of interviewing all of the 40 selected participants.
The result exhibited a majority of teacher career optimisms at middling level. The research also compared the average score from both optimistic groups, which they had .05 statistical level of difference. In analyzing the reasons behind teaching career optimism, the structural interview was divided into 2 groups; First, the reasons behind the high level of optimism for teaching career were categorized into 8 categories as impression from experiences during practicum, being influenced teaching process management from universities that supported teaching career, teacher’s fundamental characteristics, self-efficacy, parental support, teachers supports, impression level from role-model teachers and stability in life. Secondly, the reasons for the low level of optimism for teaching career were categorized into 5 categories as troublesome experiences during practicum, the university’s teaching process did not endorse teaching career, imbalance of rewards and responsibilities in teaching careers, teachers’ negligent on students’ behaviors and poor examples of teacher as a role-model.