ผลการใช้โปรแกรมการสร้างวินัยเชิงบวกที่มีต่อการทำงานของสมองด้านการจัดการของเด็กปฐมวัย
Keywords:
การทำงานของสมองด้านการจัดการ, การสร้างวินัยเชิงบวก, EXECUTIVE FUNCTION, POSITIVE DISCIPLINEAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลจากการใช้โปรแกรมการสร้างวินัยเชิงบวกที่มีต่อการทำงานของสมองด้านการจัดการของนักเรียน ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ (พิบูลบำรุง) จังหวัดนนทบุรี จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรม การสร้างวินัยเชิงบวก และแบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานของสมองด้านการจัดการของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างช่วงเวลาของการวัดประเมินการทำงานของสมองด้านการจัดการโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และสถิติทดสอบทีแบบอิสระ (Independent t-test)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีระดับการทำงานของสมองด้านการจัดการสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระยะติดตามผลการทดลองกลุ่มทดลองมีระดับการทำงานของสมองด้านการจัดการแตกต่างจากหลังการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีระดับการทำงานของสมองด้านการจัดการสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ระยะติดตามผลการทดลอง กลุ่มทดลองมีระดับการทำงานของสมองด้านการจัดการสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this research were to study and compare the effects of using a positive discipline program on the executive function in young children. The subjects were 60 K3 students in semester 1 of academic year 2017 at Wat Chalermprakiet School in Nonthaburi. The research instruments included a positive discipline program and an executive functioning observation form for young children. The collected data were analyzed by arithmetic means, standard deviation and t-test.
The results were as follows: 1) The experimental group had higher executive function after the intervention at a .05 level of significance; 2) in the control group, no statistically significant differences were found after the intervention; 3) between the experimental and control groups, no statistically significant differences were found before the intervention; and 4) the experimental group had higher executive function than the control group at a .05 level of significance after the intervention.