การศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมการบริหารสมองเพื่อการพัฒนาความสามารถทางการอ่านของนักเรียน : พหุกรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี

Authors

  • ธาชินี ศิวะศิลป์ชัย
  • ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล, ดร.

Keywords:

การบริหารสมอง, การพัฒนาความสามารถทางการอ่าน, BRAIN GYM, READING ABILLITY

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมการบริหารสมองเพื่อการพัฒนาความสามารถทางการอ่านของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาที่ประสบความสำเร็จด้วยการจัดกิจกรรมการบริหารสมอง ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาแบบพหุกรณี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

             ผลการวิจัยพบว่า 1. ลักษณะของกิจกรรมการบริหารสมองที่ครูใช้ให้นักเรียนเกิดความสามารถทางการอ่าน
มีดังนี้ 1) กิจกรรมการบริหารสมอง โดยครูใช้กิจกรรม cup song เคาะแก้วท่องกลอนเป็นจังหวะ และเพลงเบรนยิมให้นักเรียนเต้นออกกำลังกาย เพื่อช่วยพัฒนาการอ่านของนักเรียน และการให้นักเรียนใช้กิจกรรมสนามเด็กเล่น เพื่อช่วยพัฒนากล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อแขน 2) การจัดการเรียนการสอนของครูในชั้นเรียน ครูมีสื่อการสอนที่เป็นทั้งสื่อและใบงานตรงตามกุญแจ 5 ดอก และการทำท่าเคลื่อนไหวสลับข้าง เพื่อให้นักเรียนผ่อนคลายและช่วยกระตุ้นให้นักเรียนกระปรี้กระเปร่า มีสมาธิพร้อมเรียนต่อ 2. ผลของกิจกรรมการบริหารสมองที่ส่งผลต่อความสามารถทางการอ่านของนักเรียน นักเรียนอ่านได้ นักเรียนมีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น ผลของคะแนนการสอบอ่านออกเขียนได้มีคะแนนเพิ่มขึ้น สามารถนำกิจกรรมการบริหารสมองไปบูรณาการได้กับทุกกลุ่มสาระวิชา 3. การบริหารจัดการหลักสูตรที่ทำให้เกิดกิจกรรมการบริหารสมอง ผู้อำนวยการเป็นส่วนสำคัญในการบริหารจัดการหลักสูตรผู้อำนวยการไปอบรม BBL แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการอบรมมาประชุมกับครู และส่งครูไปอบรมการจัดการเรียนการสอน BBL แล้วให้ครูนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาใช้กับนักเรียน 4. นโยบายและการดำเนินการสนับสนุนครูของโรงเรียน มีดังนี้ 1) นโยบายของฝ่ายวิชาการ/ผู้อำนวยการ ที่สนับสนุนครูในการทำให้นักเรียนมีความสามารถทางการอ่านด้วยการใช้กิจกรรมการบริหารสมอง 2) การจัดครูผู้สอนให้จัดกิจกรรมการบริหารสมองเพื่อให้สอดคล้องกับนักเรียนตามระดับชั้น 5. รูปแบบกิจกรรมการบริหารสมองที่ใช้ในการพัฒนาความสามารถทางการอ่าน มีดังนี้ 1) นโยบายของโรงเรียนที่สนับสนุนครูในการทำให้นักเรียนเกิดความสามารถในการอ่าน 2) การบริหารจัดการหลักสูตรของผู้อำนวยการ/ฝ่ายวิชาการ ที่ทำให้เกิดกิจกรรมการบริหารสมอง 3) ลักษณะของกิจกรรมการบริหารสมองที่ครูนำมาใช้ให้นักเรียนเกิดความสามารถในการอ่าน และ4) ผลของกิจกรรมการบริหารสมองที่ครูนำมาใช้ให้นักเรียนเกิดความสามารถในการอ่าน

 

The purposes of this research were to study of the “brain gym” activities model for students’ reading ability of good practice elementary schools. A multi case study was used in this study. The research data were collected by through a document study, non-participatory observations and interviews. Data were analyzed by the method of content analysis.

              The research findings were as follows: 1. The characteristics of brain gym activities that teachers use for students’ reading ability were includied 1) brain gym activities, and 2) iInstruction management of teachers in the classroom. 2. Tthe effects of brain gym management activities that affect students' reading ability which means they can read, they are happy and they enjoy learning. The students have a better academic achievement. The results of the literacy test have increased. The brain gym activities can be integrated with all subjects. 3. Iin terms of courses management that cause brain gym activities, the director is an important part of curriculum management. The director goes to the BBL workshop and then brings the information from the training to the teacher. Then they send the teachers to BBL teaching and learning. ThenNext, the teachers bring the knowledge gained from the training to the students. The director then followsed up on the teaching and learning process of the teacher b. By allowing the teacher to write notes after instruction and report the results of instructional management to the director periodically. Students cooperate with well-organized educational activities organized by the teachers including the parents. 4. Ppolicy and implementation supporting the teachers of school were 1) the academic policy / director supporting teachers to make students' reading ability by using brain gym activities.. 2) Tthe teacher’s arrangement of thea brain gym to be consistent with students by grade level. The data were collected by document analysis,s, observation and an interview. The data were analyzed by content analysis. 3) Tthe characteristics of brain gym activities that teachers use to assess students’ reading ability. 4) The result ofof the brain gym activities that the teachers use to assess students’ reading ability

Author Biographies

ธาชินี ศิวะศิลป์ชัย

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล, ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2018-02-07

How to Cite

ศิวะศิลป์ชัย ธ., & คล้ายมงคล ย. (2018). การศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมการบริหารสมองเพื่อการพัฒนาความสามารถทางการอ่านของนักเรียน : พหุกรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี. An Online Journal of Education, 12(3), 97–110. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/111218