กลยุทธ์การนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก

Authors

  • นนทพร พนาตรีสวัสดิ์
  • จุไรรัตน์ สุดรุ่ง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

กลยุทธ์, การนิเทศภายในโรงเรียน, STRATEGIES, IN-SCHOOL SUPERVISION

Abstract

  การวิจัยเรื่องกลยุทธ์การนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก  2) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ประชากรคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กเขตพื้นที่ภาคกลาง ในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-5 และ 17-18 จำนวน 236 โรง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 447 คน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าดัชนี PNI Modified และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการนิเทศภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ค่าดัชนี ของความต้องการจำเป็นการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก โดยภาพรวม ด้านการวางแผนการนิเทศ มีดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุด กลยุทธ์การนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก 6 กลยุทธ์รอง 28 วิธีการดำเนินการ ดังนี้กลยุทธ์ที่ 1 เสริมสร้างศักยภาพการจัดระบบข้อมูลเพื่อการนิเทศภายในอย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์รอง กลยุทธ์ที่ 2 เสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการการนิเทศภายในโรงเรียน กลยุทธ์ที่ 3 สร้างภาคีเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการนิเทศภายใน กลยุทธ์ที่ 4  ปฏิรูประบบการประเมินและรายงานผลการนิเทศภายในให้มีคุณภาพ

 

            The purposes of this research were 1) to study the authentic and desirable state of in-school supervision for small sized secondary schools, 2) to analyze the strengths, weakness, opportunities and threats of in-school supervision for small sized secondary schools, and 3) to propose in-school supervision strategies for small sized secondary schools. The populations were included 236 small sized secondary schools in the Central Region under the Office of Education Region 1-5 and 17-18.  The research instrument used was a questionnaire.

             The findings of the research indicated that twere: The overall current state of current states of in-school supervision for small sized secondary schools was at the moderate level. The overall of desirable states of in-school supervision for small sized secondary schools was at the a high level. Strategies of in-school supervision for small sized secondary schools consisted of 4 main primary strategies, 8 subordinate secondary strategies and 28 procedures.: Tthe first main strategy was to 1) develop the capacity of informational systems for in-school supervision effectively.  Second,.  Increasing the2) ppotential forlly have rapid development in-school supervision management. The third main strategy was to 13) stimulate building of a networking partnership to increase the effectiveness of in-school supervision activities. The fourrth main strategy was to 4) develop the system for evaluation and reporting of in-school supervision.

Author Biographies

นนทพร พนาตรีสวัสดิ์

นิสิตมหาบัณฑิตสาขานิเทศการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุไรรัตน์ สุดรุ่ง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขานิเทศการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2018-02-07

How to Cite

พนาตรีสวัสดิ์ น., & สุดรุ่ง จ. (2018). กลยุทธ์การนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก. An Online Journal of Education, 12(4), 75–92. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/111219