ผลของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิงที่มีต่อความสามารถในการใช้ความรู้และความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Keywords:
ALBERTA LEARNING, USING KNOWLEDGE, AVIDITY FOR LEARNINGAbstract
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสามารถในการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิง (2) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิงกับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบทั่วไป (3) เปรียบเทียบความใฝ่เรียนรู้ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตา เลิร์นนิง (4) เปรียบเทียบความใฝ่เรียนรู้ระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิงกับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ห้องเรียน โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ (1) แบบวัดความสามารถในการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (2) แบบวัดความใฝ่เรียนรู้ (3) แบบสังเกตความใฝ่เรียนรู้ และ (4) แบบสัมภาษณ์ความใฝ่เรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนด้วยรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิง มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละความสามารถในการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เท่ากับ 57.49 ซึ่งจัดอยู่ในระดับปานกลาง (2) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนด้วยรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิงมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนด้วยรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิงมีคะแนนเฉลี่ยความใฝ่เรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (4) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนด้วยรูปแบบการสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิงมีคะแนนเฉลี่ยความใฝ่เรียนรู้สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05