ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบคิดค้นการเคลื่อนไหวตามแนวคิดของรูดอล์ฟ ลาบานที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Keywords:
การจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบคิดค้นการเคลื่อนไหว, การจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ, ความคิดสร้างสรรค์ในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอล, ความสามารถในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบคิดค้นการเคลื่อนไหวตามแนวคิดของรูดอล์ฟ ลาบานและเพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบคิดค้นการเคลื่อนไหวตามแนวคิดของรูดอล์ฟ ลาบานกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายและหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน กลุ่มทดลองจำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ดำเนินทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 55 นาที และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอล จากการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ โดยผลทดสอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
กลุ่มทดลองที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบคิดค้นการเคลื่อนไหว มีค่าคะแนนความสามารถในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยแสดงว่าวิธีการจัดการเรียนรู้แบบคิดค้นการเคลื่อนไหวสามารถพัฒนาความสามารถในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลสำหรับนักเรียนชายและหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น