การศึกษาประเภทการบ้านของเด็กอายุ 5 ปี ที่ครูอนุบาลมอบหมายในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร

Authors

  • กานต์พิชชา ซอสูงเนิน
  • วรวรรณ เหมชะญาติ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

ประเภทการบ้าน, ครูอนุบาล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทของการบ้านเด็กอายุ 5 ปีที่ครูอนุบาลมอบหมายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร 2 ประเภท คือ การเตรียมบทเรียนและขยายความรู้ และการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้  ประชากรที่ศึกษาคือ ครูประจำชั้นของเด็กอายุ 5 ปี ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร  จำนวน 79 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสำรวจรายการ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัฌชิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมของประเภทการบ้านที่ครูอนุบาลมอบหมาย ทั้ง 2 ประเภทมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก   ( gif.latex?\mu = 3.70)  โดยประเภทการเตรียมและขยายความรู้โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยูในระดับมาก ( gif.latex?μgif.latex?\mu = 3.78)  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านภาษาและการรู้หนังสือ ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก มีค่ามัชฌิมเลขคณิตสูงสุด คือ ( gif.latex?\mu = 4.28) และด้านการคิดเชิงคณิตศาสตร์มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง มีค่ามัชฌิมเลขคณิตต่ำสุด คือ ( gif.latex?\mu = 3.20) ประเภทการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้มีการปฏิบัติอยูในระดับมาก (  gif.latex?\mu = 3.63)  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก มีค่ามัชฌิมเลขคณิตสูงสุด คือ (  gif.latex?\mu = 4.26)  และด้านการเพิ่มความรู้ใหม่ ปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง มีค่ามัชฌิมเลขคณิตต่ำสุด คือ ( gif.latex?\mu = 2.54)

Author Biographies

กานต์พิชชา ซอสูงเนิน

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

คณะศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วรวรรณ เหมชะญาติ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

คณะศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2019-03-26

How to Cite

ซอสูงเนิน ก., & เหมชะญาติ ว. (2019). การศึกษาประเภทการบ้านของเด็กอายุ 5 ปี ที่ครูอนุบาลมอบหมายในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. An Online Journal of Education, 13(2), 41–52. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/180082