แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
Keywords:
บริหารงานวิชาการ, ทักษะการคิดวิเคราะห์, โรงเรียนประถมศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน เขต 1 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ประชากรคือโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 103 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างโรงเรียน จำนวน 83 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการ หรือครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ โรงเรียนละ 1 คน และครูผู้สอน โรงเรียนละ 2 คน รวม 249 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือแบบสอบถามแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนฯ โดยมีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นจากสูตร Priority Needs Index (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนสภาพปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.78) สภาพปัจจุบันที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา และสภาพปัจจุบันที่มีสภาพการปฏิบัติต่ำที่สุดคือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63) ด้านที่มีสภาพที่พึงประสงค์มากที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา และด้านที่มีสภาพพึงประสงค์ต่ำที่สุดคือ ด้านการนิเทศการศึกษา เมื่อคิดลำดับความต้องการจำเป็นในภาพรวมอยู่ที่ 0.183 (PNIModified = 0.183) จะสามารถเรียงลำดับจากความต้องการในการพัฒนามากที่สุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด คือ ด้านการวัดผล ประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน กำหนดแนวทางการบริหารงานวิชาการฯ ได้ 39 แนวทาง ดังนี้ การพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษา 6 แนวทาง การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา 6 แนวทาง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 6 แนวทาง การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน 6 แนวทาง การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา 5 แนวทาง การพัฒนาส่งเสริมให้มี แหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา 6 แนวทาง และการนิเทศการศึกษา 4 แนวทาง