การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาชีววิทยา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับกับสี่ระดับ

Authors

  • ธนบดี อินหาดกรวด
  • ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

แบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับ, แบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสี่ระดับ, ผลการวินิจฉัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยระหว่างแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับกับแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสี่ระดับวิชาชีววิทยาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของผลการวินิจฉัยระหว่างแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสี่ระดับวิชาชีววิทยาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับข้อมูลเชิงประจักษ์จากการสัมภาษณ์ ตัวอย่างในการวิจัยคือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 62 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับและสี่ระดับ 2) แบบสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการคิดออกเสียง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์วีของคราเมอร์ ผลการเปรียบเทียบการวินิจฉัยระหว่างแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับกับสี่ระดับด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์วีของคราเมอร์พบว่า ส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกันในระดับปานกลาง (V มีค่าระหว่าง 0.322 ถึง 0.489) เมื่อเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยด้วยแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับและสี่ระดับกับผลการสัมภาษณ์พบว่า แบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับกับสี่ระดับให้ผลการวินิจฉัยสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์จากการสัมภาษณ์ไม่แตกต่างกัน

Author Biographies

ธนบดี อินหาดกรวด

สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2019-03-26

How to Cite

อินหาดกรวด ธ., & หลาวทอง ณ. (2019). การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาชีววิทยา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับกับสี่ระดับ. An Online Journal of Education, 13(2), 205–219. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/180123