แนวทางการบรรเลงฮอร์นช่วงเสียงต่ำ

Authors

  • นวพร กังสาภิวัฒน์
  • ณรุทธ์ สุทธจิตต์, รองศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

Horn’s Low Register

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและเก็บรวบรวมองค์ความรู้ในเรื่องของหลักการในการบรรเลงฮอร์นช่วงเสียงต่ำ 2) นำเสนอแนวทางการบรรเลงฮอร์นช่วงเสียงต่ำ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตำรา ได้แก่ หนังสือวิชาการที่เกี่ยวกับการบรรเลงฮอร์น เอกสาร ได้แก่ สิ่งพิมพ์สำหรับงานประชุม สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ บทความและวีดีโอจากสื่อออนไลน์ และงานวิจัย ได้แก่ ดุษฎีนิพนธ์ โดยใช้แบบวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ใช้การตีความและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Induction)

ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบในการบรรเลงฮอร์นช่วงเสียงต่ำ คือ 1) รูปปาก (Embouchure) 2) ตำแหน่งมือขวา (Right Hand Position) 3) การใช้ลมหายใจ (Air) 4) การออกเสียง (Vowel) 5) ตำแหน่งคาง (Jaw Position) 6) การควบคุมลักษณะเสียง (Articulation) มีความสัมพันธ์กัน เมื่อผู้เล่นบรรเลงฮอร์นช่วงเสียงต่ำโดยมีการปฏิบัติอย่างถูกวิธี จะส่งผลให้ผู้เล่นสามารถบรรเลงฮอร์นช่วงเสียงต่ำได้ด้วยการมีคุณภาพเสียงที่ดี เสียงต่ำดังกังวาน มีเนื้อเสียงที่ดี มีระดับเสียงที่ถูกต้อง ออกเสียงได้ชัดเจนแม่นยำ และสามารถควบคุมการออกหัวเสียงได้ ซึ่งถ้าผู้เล่นมีแนวทางในการฝึกซ้อมที่ถูกวิธีตั้งแต่แรกเริ่ม จะทำให้ผู้เล่นมีการพัฒนาทักษะการบรรเลงฮอร์นช่วงเสียงต่ำได้เป็นอย่างดีและมีคุณภาพ

Author Biographies

นวพร กังสาภิวัฒน์

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา

ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

ณรุทธ์ สุทธจิตต์, รองศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2019-03-26

How to Cite

กังสาภิวัฒน์ น., & สุทธจิตต์ ณ. (2019). แนวทางการบรรเลงฮอร์นช่วงเสียงต่ำ. An Online Journal of Education, 13(2), 275–288. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/180132