การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ตามแนวคิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
Keywords:
การบริหารวิชาการ, เครือข่ายความร่วมมือ, รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือ, การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน, โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กAbstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กตามแนวคิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2) ศึกษาลำดับความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กตามแนวคิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย ประชากร คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 147 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 108 โรงเรียน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ/แบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนแบบประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNI Modified) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กตามแนวคิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและมาก โดยเรียงลำดับค่าความต้องการจำเป็นสูงสุดถึงต่ำสุด คือ การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร การวัดผล ประเมินผล การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา และ การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ และการประสานความร่วมมือในการพัฒนางานวิชาการ