การวิเคราะห์แนวปฏิบัติของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาล
Keywords:
รอยเชื่อมต่อ, แนวปฏิบัติของครู, อนุบาลAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ วิเคราะห์แนวปฏิบัติของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อจากบ้านสู่โรงเรียนอนุบาลใน 2 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ และ การสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก ครอบครัว และชุมชน ตัวอย่าง ได้แก่ ครูอนุบาลที่สอนเด็กวัย 3 ปี จำนวน 3 สังกัด ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยเป็นดังนี้
1) การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ พบว่า การจัดการเรียนรู้ การวางแผนกิจกรรมจัดหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ มีนโยบายการวางแผนกิจกรรมหรือจัดหลักสูตรในเรื่องนโยบายจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เด็กปรับตัวมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70.7 การกำหนดเวลาที่ชัดเจนกำหนดระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้โดยมีแผนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมรอยเชื่อมต่อตลอดปีการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 58.6 การสนับสนุนให้ทำกิจกรรมที่บรรลุตามเป้าหมายให้เด็กทำกิจกรรมอย่างเหมาะสมตามเวลา คิดเป็นร้อยละ 87.6 การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ศึกษาเด็กเป็นรายบุคคลโดยใช้การสังเกตเด็กในชั้นเรียนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.9 การเสริมสร้างทักษะการปรับตัว ออกแบบกิจกรรมการส่งเสริมความพร้อมของเด็กโดยใช้กิจกรรมการเล่น คิดเป็นร้อยละ 87การจัดกิจกรรมส่งเสริมความพร้อมแต่ละด้าน ดังนี้ ทางด้านร่างกาย ในเรื่องการส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็ก คิดเป็นร้อยละ 91.5 ด้านอารมณ์และสังคม ในเรื่องการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการทำกิจกรรมต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 91.2 ด้านสติปัญญา ในเรื่องการจัดกิจกรรมให้เด็กได้สังเกตและสำรวจสิ่งต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 91.2 ด้านภาษาทั้งการพูดและการสื่อสาร การรู้หนังสือใช้กิจกรรมการเล่านิทาน คิดเป็นร้อยละ 91.9 รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กโดยการจัดสภาพแวดล้อมและเตรียมอุปกรณ์เพื่อให้เด็กช่วยเหลือตนเองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 83.4
2) การสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก ครอบครัวและชุมชน ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก สร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงและสร้างความคุ้นเคยกับเด็กเป็นรายบุคคลคิดเป็นร้อยละ 76.5 ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับครอบครัวเด็กใช้การสนทนารายบุคคลในการพูดคุยสื่อสารกับผู้ปกครอง คิดเป็นร้อยละ 81.1 รวมทั้งการจัดกิจกรรมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยเป็นวิทยากรในการเชื่อมต่อเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 73