การนำเสนอกรอบแนวคิดบทบาทครูในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กวัยอนุบาล
Keywords:
TEACHERS’ ROLE, RESILIENCE, PRESCHOOLERSAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอกรอบแนวคิด เรื่อง บทบาทครูในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กวัยอนุบาล ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการศึกษาเอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับเนื้อหา/จุดประสงค์ (IOC) จำนวน 3 ชุด ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน เป็นผู้ประเมินความตรงเชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง และค่าความเชื่อมั่น
ผลการวิจัย พบว่า กรอบแนวคิด เรื่อง บทบาทครูในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กวัยอนุบาล ประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ 1) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบรอง ได้แก่ การเป็นตัวแบบ ปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน และ การจัดการชั้นเรียน และ 2) การจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบรอง ได้แก่ การสอนทักษะทางสังคม การให้การสนับสนุนการเรียนรู้ และการส่งเสริมการเล่น ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถาม แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ รายฉบับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าเท่ากับ 0.96, 0.98, และ 0.93 ตามลำดับ และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม มีค่าเท่ากับ 0.898
References
นฤมล เนียมหอม. (2555). แนวการศึกษาชุดวิชาหลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิริยา ยังรอต. (2558). ประสบการณ์ด้านจิตใจในการฟื้นพลังของเยาวชนที่ไม่กระทําผิดซ้ํา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมพงษ์ จิตระดับ. (2560, 6 มกราคม). เด็กไทยวันนี้ นักวิชาการจุฬาฯ แฉสถานการณ์เด็กไทยมีปัจจัยเสี่ยง 10 ด้าน ‘ความรุนแรง แม่วัยใส ยาเสพติด’. มติชน.
สมพร อินทร์แก้ว และคณะ. (2552). เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต RQ: Resilience Quotient. นนทบุรี: ดีน่าดู.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
Bernard, B. (1993). Fostering resiliency in kids. Educational Leadership, 51(3), 44-48.
Bernard, B. (1995). Fostering resilience in children. Retrieved from ERIC database.
Gartrell, D., & Cairone, K. B. (2014). Fostering resilience teaching social-emotion skills. Young Children, 69(3), 92-93.
Gilligan, R. (2009). Adversity, resilience and young people: the protective value of positive school and spare time experiences. Children & Society, 14(1), 37-47.
Grothberg, H. E. (1995). A guide to promoting resilience in children: strengthening the human spirit. The Hague, Netherlands: Bernard Van Lee Foundation.
Miller-Lewis, L. R., Searle, A. K., Sawyer, M. G., Baghurst, P. A., & Hedley, D. (2013). Resource factors for mental health resilience in early childhood: an analysis with multiple methodologies. Child and Adolescent Psychiatry and Mental Health, 7(6), 1-23.
Nolan, A., Taket, A., & Stagnitti, K. (2014). Supporting resilience in early years classroom: the role of the teacher. Teacher and Teaching: theory and practice. 20(5), 595-608.
Nolan, A., Stagnitti, K., Taket, A., & Casey, S. (2015). Health and wellbeing in childhood. In S. Carvis & D. Pendergast (Eds.), Supporting resilience. Cambridge: Cambridge University Press.
Petty, K. (2014). Ten ways to foster resilience in young children-teaching kids to “bounce back”. Dimensions of Early Childhood, 42(3), 35-39.
Pizzolongo, P. J. & Hunter, A. (2011). I am safe and secure promoting resilience in young children. Young Children, 66(2), 67-69.
Sanders, J., Munford, R., & Liebenberg, L. (2016). The role of teachers in building resilience of at risk youth. International Journal of Educational Research, 80, 111-123.
Wyman, P. A., Cowen, E. L., Work, W. C., Hoyt-Meyers, L., Magnus, K. B., & Fagen, D. B. (1999). Caregiving and developmental factors differentiating young at-risk urban children showing resilient versus stress-affected outcomes: a replication and extension. Child Development, 70, 645-659.