ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ในชั้นเรียนวิชาสังคมศึกษาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนประถมศึกษา
Keywords:
ชุมชนการเรียนรู้ในชั้นเรียน, พฤติกรรมประชาธิปไตย, ประถมศึกษาAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ในชั้นเรียนวิชาสังคมศึกษาที่มีต่อการพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนห้อง 5/1 กำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเพลินพัฒนา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินพฤติกรรมประชาธิปไตย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกันโดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed-Rank Test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ในชั้นเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมประชาธิปไตยหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ภาษาไทย
จอห์นสัน และจอห์นสัน. (2554). การเรียนรู้แบบร่วมมือและแก้ไขความขัดแย้ง: ทักษะที่จำเป็นแห่ง
ศตวรรษที่ 21. ใน เจมส์ เบลันกา และรอนแบรนท์, (บ.ก.), ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 [21st Century Skills: Rethinking How Students Learn], 270-301. (วรพจน์ วงศ์กิจ รุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส.
ซาโต มานาบุ. (2559). การปฏิรูปโรงเรียน แนวความคิด “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” กับการนำทฤษฎีมาปฏิบัติ
จริง. นนทบุรี: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภัส ศรีเจริญประมง. (2554). ผลของการใช้กระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งในห้องเรียนตามแนวคิด
ของจอห์นสัน และจอห์นสันที่มีต่อพฤติกรรมประชาธิปไตยของเด็กอนุบาล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.
ประทุม อังกูรโรหิต. (2556). ปรัชญาปฏิบัตินิยม รากฐานปรัชญาการศึกษาในสังคมประชาธิปไตย.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรชัย หนูแก้ว. (2541). การพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมประชาธิปไตยของ
นักเรียนประถมศึกษา (ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มยุรี วิมลโสภณกิตติ. (2537). ผลของการใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์และกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ที่
มีต่อการสร้างมโนทัศน์ประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ยศวีร์ สายฟ้า. (2557). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 2718309. เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์, ภาควิชาหลักสูตร
และการสอน คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.
วรพล วิแหลม. (2555). โมเดลปัจจัยเชิงเหตุและผลของพฤติกรรมประชาธิปไตย : วิเคราะห์กลุ่มพหุ.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สาโรช บัวศรี. (2544). ความหมายของประชาธิปไตย. ใน สุนทร โคตรบรรเทา (รวบรวมและเรียบเรียง),
การศึกษา ปรัชญาการศึกษา ประชาธิปไตย และจริยธรรม, กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
สาลินี จงใจสุรธรรม, นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล และวินัย ดำสุวรรณ. (2558). กลวิธีการกำกับตนเองในการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 7(1), 15-26.
ภาษาอังกฤษ
Bielaczyc, K and Collins, A. (2005). Learning Communities in Classroom : A
Reconceptualization of Educational Practice. Retrieved from sites.fas.harvard.edu.
Dufour, R. (1998). Professional Learning Communities at work: Best Practice for
Enhancing Students Achievement. New York: Solution Tree.
Watkins, C. (2005). Classroom as Learning Communities: What’s in it schools?. London
:Routledge.