สภาพปัจจุบันและข้อเสนอแนะในการพัฒนาของช่วงรอยต่อทางการศึกษาระดับปฐมวัยและชั้นประถมศึกษาปีที่1ของโรงเรียนบ้านน้ำฉาตามแนวคิดการร่วมมืออย่างมีประสิทธิผลของครู
Keywords:
การบริหารวิชาการ, การร่วมมืออย่างมีประสิทธิผล, รอยเชื่อมต่อทางการศึกษาระดับปฐมวัยและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1Abstract
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและข้อเสนอแนะในการพัฒนาของการบริหารวิชาการในช่วงรอยต่อทางการศึกษาระดับปฐมวัยสู่ประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนบ้านน้ำฉาตามแนวคิดการร่วมมืออย่างมีประสิทธิผลของครู ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูฝ่ายวิชาการ ครูระดับประถมศึกษาปีที่ 1 และครูระดับปฐมวัย รวม 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างซึ่งจะแบ่งเป็นส่วนที่ผู้ให้ข้อมูลต้องให้คะแนนสภาพปัจจุบันและการเสนอแนวทางในการพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา จากนั้นจึงนำผลไปพัฒนาเป็นแนวทางการบริหาร
ผลการวิจัยพบว่ามีองค์ประกอบของการร่วมมืออย่างมีประสิทธิผลของครูที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับปานกลาง จำนวน 2 องค์ประกอบ และอยู่ในระดับน้อย 4 องค์ประกอบ องค์ประกอบของการร่วมมือย่างมีประสิทธิผลของครูที่อยู่ในระดับปานกลางประกอบไปด้วย 1) การมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อผู้เรียนทุกคน (Joint Responsibility) 2) การมีความยืดหยุ่นต่อความคาดหวัง (Flexible Expectations) องค์ประกอบของการร่วมมืออย่างมีประสิทธิผลของครูที่อยู่ในระดับต่ำ ประกอบไปด้วย 1) การมีเป้าหมายและความคาดหวังร่วมกัน (Shared Goals) 2) การวางแผนร่วมกัน (Common Planning) 3) การสื่อสารกันอย่างสม่ำเสมอ (Frequent Communication) 4) การจดบันทึกที่น่าเชื่อถือ(Reliable Records)