สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดกระซ้าขาวตามมาตรฐานเทคโนโลยีทางการศึกษาสำหรับผู้เรียน

Authors

  • กฤษฎา ผลพล
  • เพ็ญวรา ชูประวัติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ACADAMIC MANAGEMENT, EDUCATIONAL TECHNOLOGY STANDARDS FOR STUDENTS

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการสู่มาตรฐานเทคโนโลยีทางการศึกษาสำหรับผู้เรียนของโรงเรียนวัดกระซ้าขาว ประชากร คือ ครูและผู้บริหารโรงเรียนวัดกระซ้าขาว จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยประชากร ( gif.latex?\mu) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (gif.latex?\sigma) และการวิเคราะห์ค่าความต้องการจำเป็น (PNImodified)

 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการสู่มาตรฐานเทคโนโลยีทางการศึกษาสำหรับผู้เรียนของโรงเรียนวัดกระซ้าขาวที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การพัฒนาหลักสูตรตามมาตรฐานด้านผู้เรียนที่มีพลังอำนาจ 2) สภาพที่พึงประสงค์ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดแหล่งเรียนรู้ในและนอกห้องเรียน ตามมาตรฐานด้านผู้เรียนที่มีพลังอำนาจ และ 3) ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการสู่มาตรฐานเทคโนโลยีทางการศึกษาสำหรับผู้เรียน ลำดับที่ 1 คือ ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานด้านนักสร้างความร่วมมือ (PNI = 0.459) ลำดับ 2 คือ ด้านการจัดแหล่งเรียนรู้ในและนอกห้องเรียนให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านนักคิดคำนวณ (PNI = 0.456)  ลำดับ 3 คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรตามมาตรฐานนักออกแบบนวัตกรรม (PNI = 0.448) และ ลำดับ 4 คือ ด้านการวัดและประเมินผลโดยยึดเป้าหมายตามมาตรฐานด้านนักคิดคำนวณ (PNI = 0.446)

References

กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. (2550, 16 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 24 ก. หน้า 29-33.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561[ออนไลน์] สืบค้นจาก https://www.sesa17.go.th/site/images/Publish2.pdf

กมล ภู่ประเสริฐ .(2545). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เมธีทิปส์.

กันยกร หาญชนะวงษ์ และอนุชา โสมาบุตร. (2559). การพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10(4), 13-18.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

ไพลินรัตน์ กุณสิทธิ์. (2560). ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 12(4), 205-219.

ภัทรพล ประเสริฐแก้ว. (2559). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

โรงเรียนวัดกระซ้าขาว(หอมทองราษฎร์บำรุง). (2559). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดกระซ้าขาว (หอมทองราษฎร์บำรุง) พ.ศ. 2559 – 2562. สมุทรสาคร: โรงเรียนวัดกระซ้าขาว(หอมทองราษฎร์บำรุง).

โรงเรียนวัดกระซ้าขาว(หอมทองราษฎร์บำรุง). (2560). รายงานประเมินตนเอง พ.ศ.2560. สมุทรสาคร: โรงเรียนวัดกระซ้าขาว(หอมทองราษฎร์บำรุง).

อรุณศรี กีรติวิทยางกูร. (2559). แนวทางการบริหารจัดการการจัดแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนา ทักษะการแสวงหาความรู้ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านจ้องที่สอดคล้องกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 9(19), 109-122.

International Society for Technology in Education. (2016). ISTE Standards For Students. (Online),. Available From : www.iste.org [Sep 2018].

Downloads

Published

2019-12-09

How to Cite

ผลพล ก., & ชูประวัติ เ. (2019). สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนวัดกระซ้าขาวตามมาตรฐานเทคโนโลยีทางการศึกษาสำหรับผู้เรียน. An Online Journal of Education, 14(2), OJED1402029 (10 pages). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/186185