แนวทางการใช้จิตวิทยาเชิงบวกในการสอนทักษะปฏิบัติดนตรีระดับชั้นต้น
Keywords:
จิตวิทยาเชิงบวก, การสอนทักษะปฏิบัติดนตรี, ครูดนตรีAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการใช้จิตวิทยาเชิงบวกในการสอนทักษะปฏิบัติดนตรีระดับชั้นต้นมีวิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ปลายเปิด ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ครูสอนทักษะดนตรี ผู้เชี่ยวชาญทางดนตรีศึกษา และผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยา 2) แบบสังเกตการสอน โดยมีขั้นตอนการวิจัยคือ 1) การศึกษาเอกสารเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย 2) การดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ 3) วิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการใช้จิตวิทยาเชิงบวกในการสอนทักษะปฏิบัติดนตรีระดับชั้นต้น ประกอบด้วย 1) การสร้างเสริมประสบการณ์ของผู้เรียนให้เห็นถึงคุณค่า และความหมายของการเรียน: เสริมสร้างผู้เรียนให้เห็นคุณค่าของการเรียนรู้, สร้างประสบการณ์ความสำเร็จเพื่อให้เกิดความทรงจำทางบวก, คำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้เรียนต้องการ 2) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้จิตวิทยาเชิงบวก: คำนึงถึงจุดแข็งของผู้เรียนแต่ละคนและนำมาประยุกต์ใช้กับการสอน, กิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับทักษะความสามารถของผู้เรียน, จัดกิจกรรมที่หลากหลายนำมาใช้แก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า, การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูและผู้เรียน 3) การประเมินผลเชิงบวก: วิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์, เน้นการประเมินผลจากพฤติกรรมและการทำงานของผู้เรียน, เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมกับการออกแบบและประเมินการเรียนรู้ตามความต้องการที่เหมาะสม
References
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิณพนธ์ คงวิจิตต์. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้รูปแบบการสอนเบรนทาร์เก็ตที่
มีต่อความสุขในการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. (ครุศาสตร์ มหาบัณฑิต), สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ่ง แก้วแดง. (2540). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานครฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
สุดารัตน์ ตันติวิวัทน์. (2560). จิตวิทยาเชิงบวก: แนวคิด การพัฒนา และความท้าทายในอนาคต. วารสาร
พฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 9(1).
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานครฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำราญ สิริภคมงคล. (2554). การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (ครุศาสตร์มหาบัณฑิต), สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ และคณะ. (2544). การเรียนรู้อย่างมีความสุข: สารเคมีในสมองกับความสุขและการเรียนรู้. กรุงเทพมหานครฯ: สำนักพิมพ์สยามสปอร์ตซินดิเคท.
Manturzewska, M. (1990). A biographical study of the life-span development of professional
musicians. Psychology of Music, 18(2), 122-139.
McPherson, G. and Welch, G. (2012). The oxford handbook of music education. New York:
Oxford University Press.
Patston, T., and Waters, L. (2015). Positive instruction in music studios: Introducing a new
model for teaching studio music in schools based upon positive psychology.
Psychology of Well-Being, 5(1), 10-10
Seligman, M. E. P. (2011). Flourish: A visionary new understanding of happiness and well-
being. New York: Atria Books.
Suzuki, S., (1983). Nurtured by Love: The Classical Approach to Talent Education. Translated
by Waltraud Suzuki. Princeton: Summy-Birchard.
Walker, E. D., (1936). Teaching Music: Managing the Successful Music Program (2nd Edition).