กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Keywords:
กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์, โรงเรียนมาตรฐานสากล, เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประเด็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา จำนวน 7 โรงเรียน โดยการเลือกแบบเจาะจง แหล่งข้อมูลได้แก่รายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 เล่ม ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 26 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประเด็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมของบุคลากร และ ด้านความผูกพันของบุคลากร
2. กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย1) การประเมินความต้องการด้านขีดความสามารถและอัตรากำลัง 2) การสรรหา ว่าจ้าง บรรจุ และรักษาบุคลากรใหม่ 3) การบริหารความสำเร็จในงาน
4) การจัดการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลากร 5) การบริหารสภาพแวดล้อมของการทำงาน 6) การบริหารนโยบายและสิทธิประโยชน์ 7) การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร 8) การกำหนดปัจจัยขับเคลื่อนความผูกพันของบุคลากร 9) การประเมินความผูกพันของบุคลากร 10) การจัดการผลการปฏิบัติงาน 11) ระบบการเรียนรู้และการพัฒนา 12) การประเมินประสิทธิผลของการเรียนรู้และการพัฒนา และ 13) การจัดการความก้าวหน้าในวิชาชีพ
References
จิรัฐกาล สุวรรณกาล. (2556). กลยุทธ์การธำรงรักษาบุคลากร ของสถานศึกษาเอกชนในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 7(1), 43-58
ชนัตตา ปุยงาม. (2558). แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ทักดนัย เพชรเภรี, ฉันทนา จันทร์บรรจง, วิทยา จันทร์ศิลา และ สำราญ มีแจ้ง. (2556). การพัฒนารูปแบบการธำรงรักษาบุคลากรครูในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 15(พิเศษ), 8-19
นิตยา เทพอรุณรัตน์. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
บวร ประพฤติดี. (2558). วัฒนธรรมองค์กรกับความสำเร็จในการบริหาร: เปรียบเทียบสองวัฒนธรรมองค์กร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 5(2), 1-13
พสชนัน นิรมิตไชยนนท์ และ กมลพร สอนศรี. (2560). รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพของครูและ บุคลากรทางการศึกษาในประเทศไทย. Veridian E-journal, Silpakorn University. 10(1), 1680-1697
พันวนา พัฒนาอุดมสินค้า และ สุวรรณ นาคพนม. (2557). วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 4(3), 43-50
โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี. (2558). รายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA). พิษณุโลก
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย. (2558). รายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA). ลำปาง
โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช. (2559). รายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA). นครศรีธรรมราช
โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย. (2558). รายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA). ร้อยเอ็ด
โรงเรียนสตรีสิริเกศ. (2558). รายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA). ศรีสะเกษ
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย. (2558). รายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA). กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม. (2559). รายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA). อ่างทอง
สมหมาย อ่ำดอนกลอย และ สมุทรชำนาญ. (2551). วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 2(2), 53-66
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอน. (2559). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2559-2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนมาตรฐานสากล ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุกัญญา แช่มช้อย, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ชญาพิมพ์ อุสาโห, นันทรัตน์ เจริญกุล, สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา, ธีรภัทร กุโลภาส และ บุษกร เลิศวีระศิริกุล. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารและการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทัศน์ ธิยานันท์, อนุชา กอนพ่วง, ฉลอง ชาติรูปประชีวิน และ สุกัญญา แช่มช้อย. (2556).
การพัฒนารูปแบบการบริหารผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 15(พิเศษ), 234-247
สุริยะ ทวีบุญญาวัตร และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2559). Veridian E-journal, Silpakorn University. 9(1), 795-814
ภาษาอังกฤษ
Darling-Hammond Linda. (2000). Teacher Quality and Student Achievement: A Review of State Policy Evidence. Education Policy Analysis Archives, 8(1), n1.
Scott Stef and Ferguson Owen. (2014). New perspective on 70:20:10. A good practice of research paper. Retrieved from www.goodpractice.com.