สภาพและปัญหาการปฏิบัติงานของครูต่างชาติในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตกรุงเทพมหานคร
Keywords:
Working conditions and problems, Foreign instructorsAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานของครูต่างชาติในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ให้ข้อมูล คือ ครูต่างชาติจำนวน 115 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ
ผลการวิจัย สภาพและปัญหาการปฏิบัติงานของครูต่างชาติภาพรวมทั้ง 4 ด้าน พบว่า 1) ด้านหลักสูตร ส่วนใหญ่
ครูต่างชาติวิเคราะห์หลักสูตรก่อนการจัดการเรียนการสอนโดยทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่สอน ปัญหาที่พบคือ หลักสูตรไม่ชัดเจน ส่วนการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนใหญ่ครูต่างชาติจัดเตรียมอุปกรณ์การเรียนการสอน ปัญหาที่พบคือ ไม่ได้ร่วมกับครูไทยในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน ครูต่างชาติส่วนใหญ่จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ปัญหาที่พบคือ ไม่ได้ร่วมกับครูไทยในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ส่วนการใช้เทคนิคและวิธีการสอน ส่วนใหญ่ครูต่างชาติสอนโดยใช้สื่อมัลติมีเดีย ปัญหาที่พบคือ นักเรียนในห้องมีจำนวนมากทำให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ยาก การเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ ส่วนใหญ่ครูต่างชาติใช้แบบเรียนหรือหนังสือเรียน ปัญหาที่พบคือ ห้องเรียนไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้สื่อการเรียนรู้ ส่วนการจัดการชั้นเรียน ครูต่างชาติส่วนใหญ่สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนเกิดความสนุกในการเรียน ปัญหาที่พบคือ จำนวนนักเรียนในห้องมากเกินไป 3) ด้านการวัดและประเมินผู้เรียน ครูต่างชาติส่วนใหญ่ออกแบบการวัดและประเมินผู้เรียน ใช้วิธีการประเมินผู้เรียนจากการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารกับครู ปัญหาที่พบคือ โรงเรียนมีนโยบายในการลดจำนวนนักเรียนที่สอบตกจึงต้องปรับการประเมินให้ง่ายลง 4) ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร ครูต่างชาติส่วนใหญ่ฝึกนักเรียนเข้าแข่งขันเล่าเรื่องภาษาอังกฤษ กิจกรรมเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรม ครูต่างชาติส่วนใหญ่จัดกิจกรรมวันคริสต์มาส กิจกรรมเสริมทักษะนอกห้องเรียน ส่วนใหญ่จัดค่ายภาษาอังกฤษ ส่วนภาระหน้าที่ที่นอกเหนือจากงานสอน ครูต่างชาติส่วนใหญ่เป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันทักษะทางภาษาอังกฤษ ปัญหาที่พบคือ โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมมากเกินไป
References
สามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กรมวิชาการ. (2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
จรัญญา พงษ์สุทธิรักษ์. (2558). สภาพและปัญหาการจัดการการศึกษาตามหลักสูตกระทรวงศึกษาธิการเป็น
ภาษาอังกฤษของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:
https://www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=10384937[30 ตุลาคม 2561]
จุฑามาศ มละครบุรี. (2560). การปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้ห้องเรียน. วารสารการเมืองการปกครอง
7, 3 (กันยายน-ธันวาคม 2560): 198.
ฉลิม ทองนวล. (2558). เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.
พิมพ์ชนก ค้ำชู. (2555). การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแนวทางคาร์ล ออร์ฟ เพื่อพัฒนาทักษะในรายวิชา
ดนตรี-นาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชา
เทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ธัญบุรี, 2555.
ไพฑูรย์ นันตะสุคนธ์. (2555). การวิเคราะห์หลักสูตรรายวิชา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:
https://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:VyOV4cWpkT8J:bsq2.ve
c.go.th[2 มีนาคม 2562]
ภัทรนรินทร์ บิชอป. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้การประเมินสมรรถนะครูต่างชาติที่สอนวิชาภาษาอังกฤษใน
ระดับประถมศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสาคาม 22, 2 (ธันวาคม 2559):
247-261.
ศศิธร ขันติธรางกูร. (2551). การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:
https://www.km.ictbk.net/download/1319102120_book12.pdf[3 มีนาคม 2562]
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2560). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) ปีการศึกษา 2560. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.newonetresult.niets.or.th/
AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2560[19 ตุลาคม 2561]
สรคุปต์ บุญเกษม และ สันติศักดิ์ กองสุทธิ์ใจ. (2560). ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผล
โรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. วารสารมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม 11,1 (มกราคม-มิถุนายน 2560):
217.
สิทธิ์ จิตนิลวงศ์. (2552). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารโรงเรียนเอกชนสองภาษา สังกัดสำนัก
บริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2552.
สุนีตา โฆษิตชัยวัฒน์. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมค่ายภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างทักษะการพูด
ภาษาอังกฤษ ความรู้ด้านกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษและทักษะสังคมสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษา
อังกฤษ. Veridian E-Journal SU 6, 1 (January-April 2013): 403-407.
สุทธิกานต์ บ่อจักรพันธ์, จิรายุ หอมทรัพย์สิน และ ทศพร มะลาหอม. (2559). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่อง
คำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
และนวัตกรรมคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 3, 2 (กรกฎาคม–
ธันวาคม 2559): 58-64.
เสาวลักษณ์ ประมาน และ ประวิทย์ ประมาน. (2559). ปัญหาการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 ของครูผู้สอนวิชาพลศึกษา ระดับประถมศึกษาโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
และจังหวัดอ่างทอง. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 11, 2 (พฤษภาคม –
สิงหาคม 2559): 117-124.
อรกัญญา สันติมิตร และ จันทร์ชลี มาพุทธ. (2553). การปฏิบัติตนของครูต่างชาติที่เป็นจริงและความ
คาดหวังของนักเรียนและครูโรงเรียนเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม
6, 1 (2553): 27-36.
Kathlenn Grave. (2000). Designing Language Course: A Guide For Teacher. Boston: Heinle &
Heinle.
Wagdi Rashad Ali Bin-Hady. (2018). HOW CAN I PREPARE AN IDEAL LESSON-PLAN ?:
International Journal of English and Education 7, 4 (October 2018): 275.