การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินการนิเทศการสอนของโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กลุ่มที่ 2

Authors

  • ปิยาพัชร ศักดิ์สิทธิ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

Keywords:

Instructional supervision, States of supervision, Problem of supervision

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินการนิเทศการสอนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มที่ 2 ประชากร คือ โรงเรียนในสังกัด จำนวน 9 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ
รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และผู้นิเทศ จำนวน 90 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการเตรียมการนิเทศการสอน มีการแต่งตั้งกรรมการดำเนินการชุดเดียวกับกรรมการวิชาการของโรงเรียน ส่วนใหญ่เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และเลือกผู้ที่มีประสบการณ์สอนนาน ทำหน้าที่สังเกตการสอน วางแผนโดยใช้ปัญหาการสอน มีการอบรมก่อนการนิเทศ เตรียมแผนการสอนและใช้เครื่องมือแบบผสมผสาน ปัญหาที่พบคือไม่สามารถ
จัดตารางเวลาให้เหมาะสม 2) ด้านการดำเนินการนิเทศการสอน ส่วนใหญ่ใช้การสังเกตการสอนเพื่อรวบรวมข้อมูลวิธีการสอนและส่งเสริมด้วยการให้คำปรึกษา ติดตามโดยบันทึกหลังการสังเกตการสอนและให้ข้อมูลผลสะท้อนกลับโดยการแจ้งผลด้วยวาจา ปัญหาที่พบคือผู้นิเทศมีภาระงานมากจึงไม่สามารถนิเทศการสอนได้ต่อเนื่อง 3) ด้านการประเมินผลการจัดการนิเทศการสอน
มีการแต่งตั้งกรรมการดำเนินการนิเทศเป็นผู้ประเมินโดยประเมินแบบเป็นทางการและใช้แบบสังเกตการปฏิบัติงานของครู ปัญหาที่พบคือขาดการนำผลไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนา

References

กลุ่มวัดและประเมินผล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. (2561). ผลสอบ O-net. สืบค้นจาก
https://sites.google.com/a/sesao1.go.th/eva62/rayngan/phl-sxb-o-net-2560.

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2555). การนิเทศในสถานศึกษา. สืบค้นจาก https://mystou.wordpress.com/2012/-
02/23503-8-t.pdf.

คณะทำงานปฏิรูปการศึกษาของ ทปอ. (2557). การปฏิรูปการศึกษา. สืบค้นจาก
https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/edu/download/article/ article_20141127130525.pdf.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2554). การนิเทศการสอนแผนใหม่. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ.

ณัฐกานต์ รัชชะ. (2561).การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29.Journal of Ratchathani Innovative Social
Sciences,Vol 11, 41-52.

มนูญ อรุณไพโรจน์. (2553). ประมวลสาระชุดวิชาการนิเทศการสอนในระดับประถมศึกษา เล่มที่ 12-15.
กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ราณี กุยรัมย์. (2554). ปัญหาและแนวทางการนิเทศภายในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สืบค้นจาก
https://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2562

วชิรา เครือคำอ้าย. (2558). ตำราการนิเทศการศึกษา. เชียงใหม่: ส. การพิมพ์.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร:
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. (2560). ประกาศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1
เรื่อง การแบ่งโซนแข่งขัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2559). รายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอก.
สืบค้นจาก https://aqa.onesqa.or.th/SummaryReport.aspx.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร:
พริกหวานกราฟฟิค.

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2552). การนิเทศการศึกษา. สืบค้นจาก
https://panchalee.wordpress.com/2009/03/30/supervision.

Acheson, A., and Gall, Meredith D. (1997). Techniques in the Clinical Supervision of Teachers
Preservice and Inservice Applications (4th Ed.). New York: Longman.

Harris. (1985). Supervision Behavior in Education (3rd Ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

DiPaoli F. & Hoy K. (2014). Improving Instruction Through Supervision, Evaluation, and
Professional Development. North Carolina: Information Age Publishing.

Downloads

Published

2019-09-03

How to Cite

ศักดิ์สิทธิ์ ป., & สุดรุ่ง จ. (2019). การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินการนิเทศการสอนของโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กลุ่มที่ 2. An Online Journal of Education, 14(2), OJED1402011 (11 pages). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/193335